วัณโรคปอด มีอาการอย่างไร?
วัณโรคปอด มีอาการอย่างไร ?
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Mycobacterium tuberculosis เชื้อวัณโรคมีความคงทนต่อความแห้งได้ และสามารถแขวนอยู่กับฝุ่นละอองได้นาน เมื่อพูดถึงวัณโรคชาวบ้านทั่วไปมักจะนึกถึงโรคปอด คือ วัณโรคปอด เพียงอย่างเดียว ความจริงวัณโรคอาจเป็นได้ในทุก ๆ อวัยวะของร่างกาย เช่น ลำไส้ ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนังและเยื่อหุ้มสมอง แต่วัณโรคมักเป็นที่ปอด มากกว่าอวัยวะอื่น
ลักษณะและอาการของผู้ป่วยวัณโรค
ลักษณะ อาการของผู้ป่วยวัณโรคนั้นคล้ายๆ กับ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังทั่วๆ ไป จะสังเกตได้ยากในผู้ป่วยที่เป็นใหม่ๆ เพราะโรคนี้เกิดขึ้นช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ทันรู้สึกตัว
อาการเริ่มต้น มีไข้ต่ำๆตอนบ่าย มีเหงื่อออกตอนกลางคืน ไอแห้งๆ ต่อมาไอมีเสมหะ อาจมีเลือดปนเสมหะ ถ้ามีแผลโพลงในเนื้อปอด อาจจะไอเป็นเลือดสดๆ เมื่อไอมาก อาการที่ตามมาคือเจ็บชายโครงทั้งสองข้าง อ่อนเพลียลงเรื่อยๆ เบื่ออาหาร เมื่อเวลาผ่านไปไม่ได้รักษาอาการ ทุกอย่างจะเป็นมากขึ้น น้ำหนักลดลงมาก วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ระยะเวลาที่เริ่มเป็นจนมีอาการหนัก มักจะใช้เวลานานเป็นปี บางคนเที่ยวดึก สูบบุหรี่จัด เมื่อมีอาการไอก็เข้าใจว่าเป็นผลมาจากบุหรี่ ก็เลยไม่สนใจที่จะไปรับการตรวจ สำหรับคนที่ติดเหล้ามาก อาการมึนเมาจะบดบัง อาการเริ่มแรกของวัณโรคได้ ต่อเมื่อมีอาการของวัณโรคมากจึงไปพบแพทย์ ทำให้ยากต่อการรักษา เนื่องจากเนื้อปอดถูกทำลายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้มีอาการหอบ เหนื่อย จนไม่สามารถเดินได้ ซึ่งนับว่าเป็นอาการที่เข้าขั้นรุนแรง สำหรับผู้หญิงที่เป็นวัณโรครุนแรงมาก อาจจะมีประจำเดือนคาดเคลื่อน หรือขาดหายไป
การตรวจวินิจฉัย
สิ่งจำเป็น ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้คือ ประวัติความเจ็บป่วย อาการ และการตรวจร่างกาย สามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ในระดับหนึ่ง การวินิจฉัย วัณโรคปอดที่แน่นอนจะต้องพบเชื้อวัณโรคจากเสมหะ โดย การย้อมสีเสมหะ และตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือ จากการนำเสมหะไปเพาะหาเชื้อวัณโรคในทางปฏิบัติ ถ้าตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ แต่พบลักษณะแผลในเนื้อปอดจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก ร่วมกับอาการบ่งชี้ว่าเป็นวัณโรคโดยไม่พบสาเหตุโรคอื่น อาจให้การวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดได้ “การวินิจฉัยและการรักษาที่ทำได้เร็ว จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ป่วย”
จะทราบอย่างไร ว่าท่านหายจากวัณโรค
ผู้ ป่วยต้องตั้งใจรักษา ต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ วัณโรคเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ผลการรักษาจะประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลวอยู่ที่ตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยจะทราบว่าหายจากวัณโรค เมื่อตรวจไม่พบเชื้อในเสมหะ ภายหลังกินยาสม่ำเสมอครบตามกำหนด
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค
• สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค (อยู่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน)
• ภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ เช่น เบาหวาน, ติดเชื้อ HIV, หรือ ได้รับยากดภูมิต้านทาน เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง หรือ ยาลูกกลอนที่มีส่วนผสมของ steroids
จะป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นวัณโรคได้อย่างไร
• รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
• หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค เคยมีรายงานผู้ป่วยเป็นวัณโรคในระยะติดต่อ สามารถแพร่เชื้อวัณโรคกับผู้ร่วมโดยสารเครื่องบิน ลำเดียวกันได้จำนวนหลายคน
• ถ้ามีผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในบ้าน ควรเอาใจใส่ดูแลให้กินยาครบถ้วนสม่ำเสมอทุกวัน
• ควรตรวจร่างกาย โดยการเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละครั้ง
• หากมีอาการผิดปกติ สงสัยว่าจะเป็นวัณโรค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเสมหะ และเอกซเรย์ปอด
นายแพทย์พิศิษฐ์ ด่านไทยนำ
อายุรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤต
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
OPERATION BIM (Balancing Immunity) จะส่งผลให้ประชากรโลกสามารถมีอายุยืนขึ้น มีความสุขมากขึ้น มีสุขภาพดียิ่งขึ้น เพราะร่างกายสามารถป้องกันสิ่งและสารแปลกปลอมจากภายนอกที่ทำลายสุขภาพและก่อให้เกิดโรคร้าย เช่น สารเคมีอันตราย เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ตลอดจนเซลล์มะเร็ง และ ร่างกายสามารถลดอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นจากสภาวะแพ้ภูมิตัวเอง โรคเอสแอลอี SLE สะเก็ดเงิน ภูมิแพ้ โรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ กรดไหลย้อน ข้อเข่าเสื่อม เก๊าท์ รูมาตอยด์ เบาหวาน โรคหัวใจ ตับเสื่อม ไตวาย หอบหืด สันนิบาต และ มะเร็ง เป็นต้น
คลิ๊ก!!!
โทร 089-071-8889 อานนท์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น