นาฬิกาชีวิตกับความอ้วน
ในงานวิจัยนั้น ดร.คาธีย์ ไวส์ นักวิจัยด้านชีววิทยาจังหวะเวลามหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน สก็อตแลนด์ ได้ทำการศึกษาว่า จังหวะเวลาของมนุษย์ที่ต้องปรับให้เข้ากับเวลาอาหารที่เปลี่ยนไป การนอนและเวลาการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิมนั้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือแม้กระทั่งความอ้วนหรือไม่ อย่างไร
"แสงไฟทำให้การปรับตัวระหว่างนาฬิกาชีวภาพของมนุษย์กับจังหวะธรรมชาตินั้นเปลี่ยนแปลงไป และในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา เราแทบไม่มีจังหวะในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นมื้ออาหาร การนอน และการทำงานเลย" ดร.ไวส์เผย "นาฬิกาชีวภาพของมนุษย์ต้องพยายามสุดขีดที่จะปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตที่ไม่เป็นจังหวะของเรา และผมก็เชื่อว่า นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้กระบวนการเมตาบอลิซึมและสุขภาพของร่างกายมีปัญหา และมีโอกาสที่จะทำให้คนๆนั้นอ้วนขึ้นมาได้"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น