วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

หลินจือมิน ข้อควรปฏิบัติรับมือโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ ไขมันในเส้นเลือด โทร 089...





หลินจือมิน ข้อควรปฏิบัติรับมือโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ ไขมันในเส้นเลือด

รายละเอียดเพิ่มเติม   http://www.Linhzhiminkorea.com

โทร 089-071-8889 , 094-709-4444 , 094-435-0404

Line ID : @jumbolife



โรคมะเร็ง (Cancer) พบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะพบในอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ส่วนในวัยเด็กพบน้อยกว่าในผู้ใหญ่ประมาณ 10 เท่า



โรคมะเร็งที่พบบ่อยของชายไทย เรียงจากลำดับแรก 10 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็ง ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง เม็ดเลือดขาว กระเพาะปัสสาวะ ช่องปาก กระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร



โรคมะเร็งพบบ่อยของหญิงไทย เรียงจากลำดับแรก 10 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม ปากมดลูก ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ รังไข่ เม็ดเลือดขาว ช่องปาก ต่อมไทรอยด์ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง



โรคมะเร็งพบบ่อยในเด็กไทย เรียงจากลำดับแรก 4 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคเนื้องอก/มะเร็งสมอง และโรคมะเร็งนิวโรบลาสโตมา/Neuroblas toma (มะเร็งของประสาทซิมพาทีติก)



โรคมะเร็งคือ โรคซึ่งเกิดมีเซลล์ผิดปกติในร่างกาย และเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตรวดเร็วเกินปกติ ร่างกายควบคุมไม่ได้ ดังนั้นเซลล์เหล่านี้จึงเจริญลุกลามและแพร่กระจายได้ทั่วร่างกายส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ เหล่านั้นล้มเหลวไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ได้แก่ ปอด ตับ สมอง ไต กระดูก และไขกระดูก


สัญลักษณ์ของโรคมะเร็ง

“ปู” เป็นสัญลักษณ์ของโรคมะเร็ง คำว่า มะเร็ง หรือ Cancer มาจากภาษากรีก คือ Carcinos ซึ่งแปลว่า ปู (Crab) เนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งมีลักษณะลุกลามออกไปจากตัวก้อนเนื้อเหมือนกับขาปูที่ออกไปจากตัวปู ซึ่งคนแรกที่ใช้ศัพท์นี้ คือ ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก



เนื้องอก คือ ก้อน ตุ่ม ที่โตขึ้นผิดปกติ เกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดธรรมดา และเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง



โรคมะเร็ง คือ โรคของเซลล์ ที่มีการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติกลายเป็นก้อนมะเร็งซึ่งสามารถบุกรุก ทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียงและกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้



โรคมะเร็ง ต่างจากเนื้องอกที่ก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็ง โตเร็วลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าหลอดเลือด/กระแสโลหิต/กระแสเลือด และหลอดน้ำเหลือง/กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย โดยมักแพร่สู่ปอด ตับ สมอง กระดูก และไขกระดูก ดังนั้นโรคมะเร็งจึงเป็นโรคเรื้อรัง รุนแรง มีการรักาที่ซับซ้อนและต่อเนื่อง



โรคเนื้องอก ได้แก่ มีก้อนเนื้อผิดปกติ แต่โตช้า ไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง เพียงกดหรือเบียดเมื่อก้อนโตขึ้น ไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ไม่แพร่กระจายทางกระอสโลหิต และทางกระแสน้ำเหลือง จึงเป็นโรคที่รักาหายได้โดยเพียงการผ่าตัด


ขบวนการเกิดโรคมะเร็ง

เมื่อร่างกายได้รับสารก่อมะเร็ง เช่น สารเคมี ไวรัส รังสี สิ่งเหล่านี้จะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงและในที่สุดเซลล์ปกติก็จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ถ้าระบบภูมิต้านทานของร่างกายไม่สามารถทำลายเซลล์นั้นได้ เซลล์มะเร็งก็จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นก้อนมะเร็งต่อไป


สาเหตุของโรคมะเร็ง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งอยู่หลายประการ ดังนี้


1. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย

1.1 สารเคมีบางชนิด เช่น

สารเคมีในควันบุหรี่ และเขม่ารถยนต์

สารพิษจากเชื้อรา

สารพิษที่เกิดจากเนื้อสัตว์รมควัน ปิ้ง ย่าง ทอด จนไหม้เกรียม

สีย้อมผ้า

สารเคมีบางชนิดที่เกิดจากขบวนการทางอุตสาหกรรม

1.2 รังสีต่างๆ รวมทั้งรังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดด

1.3 การติดเชื้อเรื้อรัง เช่น

ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งตับ

ฮิวแมน แพพพิโลมา ไวรัส (Human Papilloma Virus หรือ HPV) อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งของเซลล์เยื่อบุต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก

เอบสไตน์ บาร์ ไวรัส (Epstein Barr Virus) มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งโพรงหลังจมูก

เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลรัย (Helicobacter Pylori) มีความสัมพันธ์กับมะเร็งกระเพาะอาหาร

1.4 พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ตับ มีความสัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดีในตับ

2. สาเหตุภายในร่างกาย เช่น

2.1 กรรมพันธ์ที่ผิดปกติ

2.2 ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน

2.3 ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง

2.4 การระคายเคืองที่เกิดซ้ำๆ เป็นเวลานาน

2.5 ภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็ง

ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็ง แต่เป็นอาการเช่นเดียวกับการอักเสบของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง โดยที่แตกต่างคือ มักเป็นอาการที่แย่ลงเรื่อยๆ และเรื้อรัง ดังนั้นเมื่อมีอาการต่างๆ นานเกิน 1 – 2 สัปดาห์ จึงควรรีบพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม อาการที่น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง ได้แก่

มีก้อนเนื้อโตเร็ว หรือ มีแผลเรื้อรัง ไม่หายภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากการดูแลตนเองในเบื้องตัน

มีต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ มักจะแข็ง ไม่เจ็บ และโตขึ้นเรื่อยๆ

ไฝ ปาน หูด ที่โตเร็วผิดปกติ หรือ เป็นแผลแตก

หายใจ หรือ มีกลิ่นปากรุนแรงจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

เลือดกำเดาออกเรื้อรัง มักออกเพียงข้างเดียว (อาจออกทั้งสองข้างได้)

ไอเรื้อรัง หรือ ไอเป็นเลือด

มีเสมหะ น้ำลาย หรือ เสลดปนเลือดบ่อย

อาการของโรคมะเร็ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น