วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สุขภาพดี คุณก็มีความสุข สมุนไพรช่วยโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ เบาหวาน โทร 094 709...





สุขภาพดี คุณก็มีความสุข สมุนไพร หลินจือมิน ช่วยโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ เบาหวาน

รายละเอียดอื่นๆ  http://www.jumbolifeshop.com/p/439

โทร 089-071-8889 , 094-709-4444 , 094-435-0404

Line ID : @jumbolife



โรคมะเร็ง คือ โรคซึ่งเกิดมีเซลล์ผิดปกติขึ้นในร่างกาย และเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบ โตรวดเร็วเกินปกติ ร่างกายควบคุมไม่ได้ ดังนั้นเซลล์เหล่านี้ จึงเจริญลุกลามและแพร่กระจายได้ทั่วร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทำงานไม่ได้ จึงเกิดเป็นโรค และมีอาการต่างๆขึ้น และเมื่อเป็นมะเร็งของอวัยวะสำคัญ หรือ มะเร็งแพร่กระจายเข้าอวัยวะสำคัญ อวัยวะเหล่านั้นจึงล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ได้แก่ ปอด ตับ สมอง ไต กระดูก และไขกระดูก

โรคมะเร็งต่างจากเนื้องอกอย่างไร?

โรคมะเร็งต่างจากเนื้องอกที่ ก้อนเนื้อ หรือ แผลมะเร็ง โตเร็ว ลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าหลอดเลือด/กระแสโลหิต/กระแสเลือด และหลอดน้ำ เหลือง/กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆได้ทั่วร่างกาย โดยมักแพร่สู่ ปอด ตับ สมอง กระดูก และไขกระดูก ดังนั้นโรคมะเร็งจึงเป็นโรคเรื้อรัง รุนแรง มีการรักษาที่ซับซ้อนและต่อเนื่อง

โรคเนื้องอก ได้แก่ มีก้อนเนื้อผิดปกติ แต่โตช้า ไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง เพียงกด หรือ เบียดเมื่อก้อนโตขึ้น ไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ไม่แพร่กระจายทางกระแสโล หิต และทางกระแสน้ำเหลือง จึงเป็นโรคมักรักษาได้หายโดยเพียงการผ่าตัด

โรคมะเร็งเกิดได้อย่างไร?

สาเหตุของโรคมะเร็งยังไม่ชัดเจน แต่แพทย์พบปัจจัยเสี่ยงได้หลายปัจจัยเสี่ยง และเชื่อว่า สาเหตุน่ามาจากหลายๆปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน โอกาสเกิดจากปัจจัยเดียวพบได้น้อยมาก โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคมะเร็ง ได้แก่

มีพันธุกรรมผิดปกติ เป็นได้ทั้งพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ หรือ พันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด

สูบบุหรี่

ดื่มสุรา

ขาดสารอาหาร

ขาดการกินผัก และผลไม้

กินอาหารไขมัน และ/หรือ เนื้อแดงสูงต่อเนื่อง เป็นประจำ

การสูดดมสารพิษบางชนิดเรื้อรัง เช่น สารพิษในควันบุหรี่ (สารก่อมะเร็ง หรือ สัมผัสสารก่อมะเร็ง (Carcinogen http://en.wikipedia.org/wiki/carcinogen) อย่างต่อเนื่องโดย เฉพาะในปริมาณสูง

ร่างกายได้รับโลหะหนักเรื้อรังจาก การหายใจ อาหาร และ/หรือ น้ำดื่ม เช่น สารปรอท

ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส เอชไอวี (HIV) ไวรัส เอชพีวี (HPV)

ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อเอชไพโลริในกระเพาะอาหาร (โรคติดเชื้อเอชไพโลไร)

ติดเชื้อพยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ตับ

การใช้ยาฮอร์โมนเพศต่อเนื่อง

สูงอายุ เพราะเซลล์ผู้สูงอายุมีการเสื่อม และการซ่อมแซมต่อเนื่อง จึงเป็นสาเหตุให้เซลล์กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์มะเร็งได้



โรคมะเร็งมีอาการอย่างไร?

ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็ง แต่เป็นอาการเช่นเดียวกับการอักเสบของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง โดยที่แตกต่างคือ มักเป็นอาการที่เลวลงเรื่อยๆและเรื้อรัง ดังนั้นเมื่อมีอาการต่างๆนานเกิน 1-2 สัปดาห์ จึงควรรีบพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม อาการที่น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง ได้ แก่

มีก้อนเนื้อโตเร็ว หรือ มีแผลเรื้อรัง ไม่หายภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการดูแลตนเองในเบื้องต้น

มีต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ มักแข็ง ไม่เจ็บ และโตขึ้นเรื่อยๆ

ไฝ ปาน หูด ที่โตเร็วผิดปกติ หรือ เป็นแผลแตก

หายใจ หรือ มีกลิ่นปากรุนแรงจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

เลือดกำเดาออกเรื้อรัง มักออกเพียงข้างเดียว (อาจออกทั้งสองข้างได้)

ไอเรื้อรัง หรือ ไอเป็นเลือด

มีเสมหะ น้ำลาย หรือ เสลดปนเลือดบ่อย

อาเจียนเป็นเลือด

ปัสสาวะเป็นเลือด

ปัสสาวะบ่อย ขัดลำ ปัสสาวะเล็ด โดยไม่เคยเป็นมาก่อน

อุจจาระเป็นเลือด มูก หรือ เป็นมูกเลือด

ท้องผูก สลับท้องเสีย โดยไม่เคยเป็นมาก่อน

มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หรือ มีประจำเดือนผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดประจำเดือน หรือ หลังมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ไม่เคยมีมาก่อน

ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นอึดอัดท้อง โดยไม่เคยเป็นมาก่อน

มีไข้ต่ำๆหาสาเหตุไม่ได้

มีไข้สูงบ่อย หาสาเหตุไม่ได้

ผอมลงมากใน 6 เดือน มักตั้งแต่ 10%ขึ้นไปของน้ำหนักตัวเดิม

มีจ้ำห้อเลือดง่าย หรือ มีจุดแดงคล้ายไข้เลือดออกตามผิวหนังบ่อย

ปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง หรือ แขน/ขาอ่อนแรง หรือ ชักโดยไม่เคยชักมาก่อน

ปวดหลังเรื้อรัง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจร่วมกับ แขน/ขาอ่อนแรง

แพทย์รู้ได้อย่างไรว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง?

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งได้จาก ประวัติอาการต่างๆของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีอาการด้วยเอกซเรย์ หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอมอาร์ไอ แต่ที่ให้ผลแน่นอน คือ เจาะ/ดูดเซลล์จากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ ตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (ตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางพยาธิวิทยา)

โรคมะเร็งมีกี่ระยะ?

ระยะโรคมะเร็ง คือ ตัวบอกความรุนแรงของโรค (การลุกลามและแพร่กระจาย) บอกแนว ทางการรักษา และแพทย์ใช้ในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง

โดยทั่วไปโรคมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1-4 ซึ่งทั้ง 4 ระยะ อาจแบ่งย่อยได้อีกเป็น เอ (A) บี (B) หรือ ซี (C) หรือ เป็น หนึ่ง หรือ สอง เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้ช่วยประเมินการรัก ษา ส่วน โรคมะเร็งระยะศูนย์ (0) ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง เพราะเซลล์เพียงมีลักษณะเป็นมะเร็ง แต่ยังไม่มีการรุกราน (Invasive) เข้าเนื้อเยื่อข้างเคียง

ระยะที่ 1: ก้อนเนื้อ/แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม

ระยะที่ 2: ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อ/อวัยวะ

ระยะที่ 3: ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง

ระยะที่ 4: ก้อน/แผลมะเร็งขนาดโตมาก และ/หรือ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง จนทะ ลุ และ/หรือ เข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง โดยพบต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้ และ/หรือ มีหลากหลายต่อม และ/หรือ แพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และ/หรือ หลอดน้ำเหลือง/กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น