สุขภาพดี คุณก็มีได้ หลินจือแดง แก้ปัญหาโรคภูมิแพ้ เบาหวาน ความดันโลหิต
เห็ดหลินจือแดง หลินจือพลัสชิตาเกะ LINGZHI PLUS SHIITAKE
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.lingzhiplus2u.com
โทร. 094 709 4444, 094 435 0404, 088 826 4444, 089 071 8889
Line : @jumbolife
ความรู้ทั่วไปเรื่องโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานถือว่าเป็นโรคที่คนไทยป่วยกันมาก เป็นโรคยอดฮิต 1 ใน 10 ของโรคที่คุกคามคนไทยมากที่สุด พบได้ในทุกช่วงวัย และยังมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งนี้การเป็นโรคเบาหวานเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น อาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ เป็นต้น
เชื่อหรือไม่ว่า มีคนอีกจำนวนมากที่ป่วยด้วย โรคเบาหวาน แต่ไม่รู้ตัว ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี และอาจนำไปสู่โรคอื่นๆอันเป็นภาวะแทรกซ้อน ที่รุนแรงได้ การจะรู้ว่าคุณอยู่ในข่ายเสี่ยง โรคเบาหวาน หรือไม่ เริ่มจากการทำความเข้าใจโรค นี้อย่างถูกต้อง
โรคเบาหวาน เกิดจากการทำงานของ "ฮอร์โมนอินซูลิน" (Insulin)ของร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้ อินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆเพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและเกิดการคั่งของน้ำตาลในเส้นเลือดแดงส่งผลให้อวัยวะต่างๆเสื่อม ซี่งอาการนี้จะส่งผลให้ เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆได้
ประเภทของเบาหวาน
โรคเบาหวาน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดได้อย่างชัดเจน
1. เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอ เนื่องจากเบตาเซลล์(beta cells) ของตับอ่อนถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องได้รับอินซูลินด้วยการฉีดหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลิน
2. เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นเบาหวานที่พบเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ตับอ่อนยังสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ผู้ป่วยต้องมีการควบคุมอาหาร การใช้ยาชนิดกินหรือใช้อินซูลินชนิดฉีด
3. เบาหวานที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ หลังคลอดระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับเป็นปกติ แต่จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคเบาหวาน มีรายงานได้ถึงร้อยละ 50 เมื่อติดตามต่อไป 10 ปี ถ้าไม่มีการปรับพฤติกรรมชีวิตในการลดความเสี่ยง
4. เบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางพัรธุกรรม โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตที่สร้างฮอร์โมน ฯลฯ
โรคเบาหวานเกิดได้อย่างไร
อาจเกิดได้จากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ (ภาวะดื้ออินซูลิน) และการการโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มักเกิดจากความผิดปกติของ 2 ประการนี้ร่วมกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของ ฮอร์โมน อินคริติน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
เมื่อทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ร่างกายของคนปกติที่ไม่ได้มีความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน จะทำการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลกลูโคสและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนจากตับอ่อน คือ อินซูลิน จะเป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ดังนั้นถ้าตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้ หรือสร้างไม่พอ จะทำให้การทำงานไม่ดีส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือดเหลือค้างมากและมีระดับสูงกว่าปกติ เกิดเป็นโรคเบาหวาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น