Cordy Plus ถั่งเช่าทิเบต ดูแลสุขภาพโรคความดันโลหิตสูง
ถั่งเช่า อ.วิโรจน์ Cordy Plus
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.cordycepsherb.com
โทร 094-709-4444,089-071-8889,094-435-0404
LINE ID : @Jumbolife
โรคความดันโลหิตสูง นำไปสู่โรคร้ายอะไร
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมีความดันโลหิตเลี้ยงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่สม่ำเสมอ ซึ่งนำมาสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้
โรคความดันโลหิตสูง
ระดับความรุนแรงของ โรคความดันโลหิตสูง
ความรุนแรงของ โรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 3 ระยะคือ
ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิตระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท
ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิตระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท
ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิตมากกว่า 180/110 มม.ปรอท
ทั้งนี้ การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก และควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริง ๆ
สาเหตุของ โรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่จะพบโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีอาการป่วยบางประเภท เช่น อาการป่วยเกี่ยวกับสมอง ต่อมหมวกไต และต่อมไร้ท่อบางประเภท รวมทั้งโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เช่น โรคโลหิตจางอย่างรุนแรง เบาหวาน เป็นต้น
อาการของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง
ปกติแล้วผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักไม่ปรากฎอาการใด ๆ ให้ทราบ อาจพบอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ เหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือนอนไม่หลับ สูญเสียความจำ สับสน มึนงง ซึ่งล้วนเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ นั่นจึงทำให้คนไม่เอะใจ จึงไม่ได้รับการรักษา และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเหมาะสม ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้
ปวดหัว
ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีคือ
1. ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงโดยตรง คือ
- ภาวะหัวใจวาย ที่เกิดจากหัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัว เกิดหัวใจโต และหัวใจวายตามมา
- หลอดเลือดในสมองแตก หรือตีบตัน
2. ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งหลอดเลือดสมองตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรังจากการที่เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอได้ รวมทั้งอาการตาบอดที่เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงอาจทำให้หลอดเลือดแดงในตาค่อย ๆ เสื่อมลง จนอาจมีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อมจนตาบอดได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อ โรคความดันโลหิตสูง
- พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พบว่า คนประมาณ 30-40% ที่บิดามารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่า คนที่ไม่มีประวัติในครอบครัว
- ความเครียด หากคนมีความเครียดสูง อาจทำให้ความดันโลหิตสูงไปด้วย
- อายุ โดยปกติเมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับโรคความดันโลหิตสูง มักพบในผู้ที่อายุ 40-50 ปีขึ้นไป แต่ในอายุต่ำกว่านี้ก็สามารถพบได้เช่นกัน
- เพศ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวัยหมดประจำเดือน
- รูปร่าง มักพบในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือคนอ้วนมากกว่าคนผอม
- เชื้อชาติ มักพบในคนอเมริกัน เชื้อสายแอฟริกา หรือกลุ่มผิวสี
- พฤติกรรมการกิน ผู้ที่ชอบทานเค็ม ทานเกลือ มักมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ
- สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองมักมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ที่อยู่อาศัยในชนบท เพราะมีความเครียด และสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายรบกวนจิตใจอารมณ์มากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น