jumbohealth.blogspot.com รวมบทความสาระดีๆเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อการมีสุขภาพที่ยืนยาวและแข็งแรง
วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
สาเหตุโรคตาเสื่อม BIM100 เคล็ดลับดูแลสุขภาพ โทร 094 709 4444
สาเหตุโรคตาเสื่อม BIM100 เคล็ดลับดูแลสุขภาพ
BIM100 น้ำมังคุด อาหารเสริมสมุนไพร สร้างภูมิสมดุล
สอบถามเพิ่มเติม
https://www.jumbolifeshop.com/p/23
โทร 088-826-4444 , 094-709-4444
089-071-8889 , 094-435-0404
LINE ID : @Jumbolife
จอประสาทตาเสื่อม โรคร้ายแรงที่สามารถรักษาได้
ตา จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชีวิตมนุษย์ เพราะเมื่อใดที่สูญเสียหรือเสื่อมสภาพลงไป ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตตามมา ซึ่งการที่คนเราจะเห็นภาพอะไรได้ชัดเจนนั้น เป็นเพราะการที่เรามองสิ่งต่างๆ และสามารถเดินทางเข้าไปสู่ในลูกตา โดยต้องผ่านส่วนต่างๆ ของดวงตา คือ กระจกตาและเลนส์แก้วตา และไปตกอยู่ที่จอประสาท ซึ่งเป็นผนังตาชั้นในที่มีเซลล์สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก ที่จะส่งผลไปสู่เส้นประสาทตา และนำไปสู่สมอง ทำให้คนเราสามารถมองเห็นได้ และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เช่นการอ่านหนังสือ ดูหนัง ขับรถ หรือแม้แต่การพบปะผู้คน ทักทายผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งในส่วนกลางรับภาพของจองประสาทตาเรียกว่า macula เป็นหนึ่งจุดที่มีความสำคัญมากที่สุด ถ้าเกิดเสื่อมสภาพลง จะทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน เหมือนมีจุดดำเข้ามาแทรกในการมองเห็น มองภาพบิดเบี้ยวไปจากที่เคย ก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นของภาพระยะใกล้หรือระยะไกลไป จนดำเนินชีวิตได้ลำบากขึ้น ซึ่งในการรักษาจอประสาทตาเสื่อม จะมีรูปแบบการรักษาถึง 2 วิธี ดังนี้
1.การรักษาด้วยแสงเลเซอร์
ในการเป็นโรคจอประสารทตาเสื่อมแบบเปียก จะสามารถเข้ารักษาได้ด้วยวิธีการฉายแสงเลเซอร์ จะทำหน้าที่ในการยับยั้งหรือช่วยชะลอเส้นเลือดที่ผิดปกติ ที่ทำให้มีเลือดออกในจอประสาทตา โดยการฉายเลเซอร์ไปตรงบริเวณที่มีพยาธิสภาพอยู่ ซึ่งในการรักษาวิธีนี้อาจจะไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยหายขาดได้ แต่จะเป็นการรักษาให้การมองเห็นไม่แย่กว่าที่เคย และคงสภาพการมองเห็นแบบนี้ต่อไปไม่ให้แย่ลงไปอีก ซึ่งในปัจจุบันการรักษาด้วยแสงเลเซอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ
Laser Photocoagulation เป็นการฉายเลเซอร์ที่ก่อให้เกิดความร้อน ที่จะสามารถเข้าไปยับยั้งการลุกลามของเส้นเลือดผิดปกติภายใต้จอประสาทตาได้
Photodynamic therapy เป็นการรักษาที่ประกอบไปด้วยการฉีดยาเข้าไปทางเส้นเลือดให้ไหลไปตามกระแสเลือด และทำหน้าที่ในการจับตัวเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติบริเวณผนังจอประสาทตา จากนั้นจึงทำการฉายเลเซอร์ที่ไม่ก่อให้เกิดความร้อนไปยังจุดที่ต้องการรักษา
2.การรักษาแบบผ่าตัด
เป็นการผ่าตัดน้ำวุ้นตา , จอประสาทตา เพื่อเป็นการทำลายเส้นเลือดที่ผิดปกติภายใต้ผนังจอประสาทตา รวมทั้งแก้ไขปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากโรค เช่น ภาวะเลือดออกใต้จอประสาทตา ถึงแม้ว่าการผ่าตัดจะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ก็มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย เพราะหลังการรักษาจะทำให้มองเห็นลดลง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น