วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ยิ้มสู้โรคข้อเสื่อม แนวทางดูแลสุขภาพ BIM100 น้ำมังคุด โทร 094 709 4444





ยิ้มสู้โรคข้อเสื่อม แนวทางดูแลสุขภาพ BIM100 น้ำมังคุด

BIM100 น้ำมังคุด อาหารเสริมสมุนไพร สร้างภูมิสมดุล

สอบถามเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/23

โทร 088-826-4444 , 094-709-4444

        089-071-8889 , 094-435-0404

LINE ID : @Jumbolife







โรคข้อเสื่อม



     โรคข้อเสื่อมหมายถึงโรคที่มีความผิดปกติที่กระดูกอ่อนผิวข้อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนผิวข้อทั้งทางด้านรูปร่าง ทางด้านโครงสร้างทางด้านชีวะเคมี และทางด้านชีวะพลศาสตร์   กระดูกอ่อนผิวข้อจะบางลงทำให้การทำงานของกระดูกอ่อนผิวข้อเสียไปเช่น

-หน้าที่ในด้านการกระจายแรงที่มาผ่านข้อเสียไป

-หน้าที่ในการให้กระดูกเคลื่อนผ่านกันอย่างนุ่มนวลเสียไปทำให้เกิดเสียง  เวลาเคลื่อนไหว-มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่อยู่ใกล้ข้อเช่นมีกระดูกงอกออกทางด้านข้างของข้อ (maginal osteophyte)

-กระดูกใต้ต่อกระดูกอ่อนมีการหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการต่างๆของข้อ   เช่น ปวดข้อ ข้อฝืด  ข้อแข็ง มีเสียงดังที่ข้อเวลาที่ข้อมีการเคลื่อนไหว

-องศาของการเคลื่อนไหวของข้อลดลงข้อโตขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษา  อย่างถูกต้องจะเกิดการพิการตามมา เช่น ข้อหลวมข้อโก่ง ข้อบิดเบี้ยว รูปร่างของข้อผิดไป



2. สาเหตุของโรคข้อเสื่อม


โรคข้อเสื่อมมีสาเหตุได้ต่างๆกันผู้ป่วยบางรายอาจมีหลายองค์ประกอบในการทำให้เกิดโรค องค์ประกอบทำให้เกิดโรคองค์ประกอบเหล่านี้บางอย่างสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จะไม่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมหรือช่วยชะลอการเกิดให้ช้าลง องค์ประกอบของการเกิดโรคได้แก่

2.1  อายุ

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ในการศึกษาการระบาดวิทยาพบว่า ยิ่งอายุมากขึ้นจะยิ่งพบอุบัติการโรคข้อเสื่อมมาก แต่อาการปวดและความ  พิการไม่จำเป็นต้องเป็นมากขึ้นตามอายุ โดยเมื่ออายุมากขึ้นกระดูกอ่อนผิวข้อมีความทนต่อแรงกดลดลงตามลำดับ จากที่มีการเปลี่ยนแปลงของสารที่อยู่ในกระดูกอ่อนผิวข้อ เช่น โปรตีนโอกลัยแคน คอลลาเจนและการทำงานของเซลล์กระดูกอ่อน (chondrocyte cells) นอกจากนี้  ประสาทส่วนปลายเมื่ออายุมากขึ้นจะทำงานลดลง ซึ่งจากการทดลองพบว่าถ้าเส้นประสาทที่มาเลี้ยงข้อเสียไปจะมีผลทำให้โรคข้อเสื่อมเร็วขึ้น   จากการที่ไม่สามารถจัดให้มีแรงผ่านของข้อได้อย่างถูกต้อง แรงหรือ   น้ำหนักที่ผ่านข้อที่ลงที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไปจะทำให้ตำแหน่งนั้นมี การเสียหายและทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมต่อมาได้ ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นประสาทส่วนปลายทำงานลดลง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรคข้อเสื่อมเกิดได้เร็วขึ้น








2.2. พันธุกรรมและโรคเมตาโบลิซึม

โรคข้อเสื่อมพบบ่อยในรายที่มีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของกระดูกอ่อนผิวข้อ (cartilage matrix)ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่มีผลึกไปฝังตัวในกระดูกอ่อนผิวข้อจะทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่มีการเกิดผลึก โรคที่ทำให้เกิดมีการฝังตัวของผลึกในกระดูกอ่อนผิวข้อและทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้ ได้แก่ โรคเก๊าท์  โรคเก๊าท์เทียม  ฮีโมโครมาโตซีส (hemochromatosis) โรควิลสัน (Wilson's disease)  และโรคข้อจากโอโครโนทิส (ochronotic arthropathy) โดยพบมีผลึกของกรดยูเรต (monosodium urate) ผลึกของแคลเซี่ยมไพโรฟอสเฟต (calcium pyrophosphate dihydrate) ผลึกฮีโมสิเดอริน (hemosiderin) ทองแดงกรดโฮโมเจนทิสิทโพลีเมอร์ (homogentisic acid polymers) มาฝังตัวในกระดูกผิวข้อและมีผลทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมโดยมีผลโดยตรงต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ ในการทำงานขององค์ประกอบต่างๆที่มีในข้อหรือมีผลทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อแข็งขึ้น  กว่าปกติทำให้การรับการส่งแรงที่มากระทบเปลี่ยนแปลงไป



2.3 การเปลี่ยนแปลงในเมตาโบลิซึมของการทำงานของเซลกระดูกอ่อน

การทำงานของเซลกระดูกอ่อนในคนปกติแตกต่างจากคนที่เป็นโรคข้อเสื่อม เป็นภาวะทางพันธุกรรมไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม แต่ภาวะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเองหรือมีตัวมากระตุ้นแล้วทำให้เกิดข้อเสื่อมยังไม่ชัดเจน



2.4 การได้รับบาดเจ็บของข้อ (truama)

การกระดูกหักหรือการบาดเจ็บอันมีผลต่อการเคลื่อนไหวของข้อซ้ำๆหลายครั้งโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องผลสุดท้ายจะทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้  ตัวอย่างลูกสะบ้าเคลื่อนหลุดจากตำแหน่งบ่อยๆ การหลุดของหัวกระดูกสะโพกบ่อยๆการมรแรงกระทำซ้ำๆครั้งแล้วครั้งเล่าจะมีผลต่อข้อ โดยทำให้มีการแข็งขึ้นของกระดูกที่อยู่ใต้ต่อกระดูกอ่อน (subchondral bone) และมีผลต่อการฉีกขาดเสียหายของกระดูกอ่อนผิวข้อมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปแรงที่ส่งผ่านข้อ





นอกจากน้ำหนักตัวในตำแหน่งข้อที่เกี่ยวกับการรับน้ำหนักแล้วยังมีแรงที่เป็นผลจากกล้ามเนื้อทำงานหดตัวในขณะร่างกายเคลื่อนไหว ในคนปกติ  ขณะเดินจะมีแรงผ่านข้อเข่าประมาณ 4-5 เท่าของน้ำหนักตัว ในการนั่งยองๆ แรงจะเพิ่มเป็น 10 เท่าของน้ำหนักตัว ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระดูกอ่อน  ต้องทำหน้าที่รับแรงดังกล่าว อาชีพที่ทำให้มีแรงผ่านข้อมากผิดปกติ เช่นคนงานขุดถนนที่ใช้สว่านขุดเจาะถนน หรือในนักกีฬา ในขณะที่มีแรงผ่านข้อมากถ้าโครงสร้างภายในกระดูกอ่อนผิวข้อรับไม่ไหวจะเกิดมีการทำลายของโครงสร้างของกระดูกอ่อนและทำให้การกระจายแรงที่ผ่านข้อเสียไป  ขณะเดียวกันกระดูกที่อยู่ใต้ต่อกระดูกอ่อน ก็จะมีการแตกหักแบบเล็กๆ ขบวนการซ่อมแซมของร่างกายอันได้แก่ การสร้างกระดูกมาแทนที่ (callus formation) และจัดตัวใหม่ของกระดูกภายหลังกระดูกหัก (remodeling) ผลการซ่อมแซมใหม่ทำให้กระดูกแข็งขึ้นทำให้การกระจายแรงก็จะแย่ไปด้วยจะมีผลให้แรงลงที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินกว่าปกติและทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น