วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รับมือกับโรค หลินจือมิน เห็ดหลินจือแดง ช่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โท...





รับมือกับโรค หลินจือมิน เห็ดหลินจือแดง ช่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

สอบถามรายละเอียด

http://www.Linhzhimin2U.com

โทร 089-071-8889 , 094-709-4444 , 094-435-0404

LINE ID : @Jumbolifeshop

https://www.facebook.com/LINHZHIMIN2U




โรคเบาหวาน รู้สาเหตุ ทางรักษา ไม่อันตรายอย่างที่คิด


โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แล้วแต่ก็ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้อีกเช่น อ้วนเกินไปมีน้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย หรือจะเป็นคนที่มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ก็สุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานเช่นกัน



แต่ก็น่าแปลกใจไม่น้อยว่าถึงแม้ทุกคนจะรู้ว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่น่ากลัว และมีผลแทรกซ้อนมากมาย แต่จนถึงปัจจุบันสถิตการพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยไม่ได้น้อยลงแต่อย่างใด วันนี้ HonestDocs จึงนำท่านมาทำความรู้จักกับโรคเบาหวานในเบื้องต้นกัน


เบาหวานมีมากกว่า 1 ชนิด

เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไป โดยโรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง ซึ่งปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจึงอาจมีผลในการทำลายหลอดเลือด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้



ซึ่งหากจะเปรียบเทียบโรคเบาหวานแบบง่ายๆ ก็คือร่างกายเราเหมือนระบบปั๊มน้ำ และน้ำก็คือเลือด โดยปกติแล้วปั๊มน้ำก็จะทำงานอย่างปกติ แต่หากมีการทำให้น้ำในระบบเกิดความข้นขึ้น ซึ่งก็คือการเติมน้ำตาลลงไปในน้ำจะทำให้น้ำในระบบมีความหนืดขึ้น ปั๊มหรือหัวใจ ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น และท่อน้ำหรือหลอดเลือดก็ต้องรับแรงดันที่มากขึ้น จึงทำให้คนที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆ เพิ่มขึ้นได้


โรคเบาหวานประเภทที่ 1

เป็นโรคเบาหวานที่มีสาเหตุมาจาก ความบกพร่องของร่างกายเอง ซึ่งทำให้ตับอ่อนของเราขาดภูมิคุ้มกัน และเมื่อตับอ่อนถูกทำลาย กระบวนการสร้างอินซูลินในธรรมชาติก็จะถูกทำลายไปด้วย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องฉีดอินซูลิน เพื่อไปควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว









โรคเบาหวานประเภทที่ 2

เป็นเบาหวาน ที่จะพบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่ก็มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกมาก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น โดยเซลล์ของผู้ป่วยยังมีการสร้างอินซูลินแต่จะทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องมาจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป และบางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว การรักษาอาจใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อที่จะควบคุมน้ำตาลในเลือด







สัญญาณของโรคเบาหวาน

การที่เราเป็นโรคเบาหวานนั้น หลายคนอาจจะมองว่าจำเป็นต้องมีการตรวจเลือดอย่างเดียวจึงจะรู้ แต่ความจริงคือก่อนการตรวจเจอเบาหวาน มักจะมีอาการของโรคอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เหนื่อย เพลีย เป็นแผลเรื้อรัง ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน หลังเที่ยงคืนลงไป ที่จะมีการตื่นมาปัสสาวะบ่อยครั้งเป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้หากเราสังเกตตัวเอง จะทำให้ทราบได้เร็วมากขึ้น และหาหมอเพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที



อาการหลักของโรคเบาหวาน

ปัสสาวะบ่อยขึ้น หิวน้ำมากขึ้น หากเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น และหิวน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะกระหายน้ำมากกว่าเดิม นี้เป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน เพราะร่างกายต้องการขับน้ำตาลที่มีอยู่สูงในเลือด ออกมาทางปัสสาวะ

น้ำหนักลด น้ำหนักที่ลดผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดก็ได้ โดยเฉพาะเบาหวาน การมีน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างเร็วมาก ประมาณ 5-10 กิโลภายใน 2-3 เดือน

บาดแผลหายช้า หากมีแผลที่บริเวณผิวหนัง เช่น มีดบาด การติดเชื้อ หรือรอยฟกช้ำ และแผลหายช้ามาก นั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกให้รู้แล้วว่า คุณเป็นเบาหวานแล้ว เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงของผู้ป่วยเบาหวาน จะไปขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด

หิวบ่อย กินจุบจิบ ถ้าเกิดหิวบ่อยและกินจุบจิบขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ คุณอาจเป็นเบาหวานแล้วก็ได้ เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้ร่างกายต้องการอาหาร เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด จึงส่งสัญญาณเป็นความหิวนั้นเอง

อ่อนเพลีย อารมณ์ไม่คงที่ อาการอ่อนเพลีย และอารมณ์ฉุนเฉียว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลต่อการทำงานทุกระบบ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น