วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หลินจือมิน เห็ดหลินจือแดง ดูแลสุขภาพโรคเก๊าท์ จากทรมานกับโรคให้กลับมาใช...






หลินจือมิน เห็ดหลินจือแดง  ดูแลสุขภาพโรคเก๊าท์ จากทรมานกับโรคให้กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ

สอบถามรายละเอียด

http://www.jumbolifeshop.com/p/439

โทร 089-071-8889 , 094-709-4444 , 094-435-0404

LINE ID : @Jumbolifeshop

https://www.facebook.com/LINHZHIMIN2U




โรคเก๊าท์ เกิดขึ้นได้อย่างไร อาหารอะไรที่ควรงด



เนื่องจากโรคเก๊าท์ ถือได้ว่าเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน รวมถึงยังมีอาการข้อแข็ง และบวม ซึ่งมักจะเป็นที่นิ้วหัวแม่เท้า ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของโรคเก๊าท์ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และอาจเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็นและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ได้


โรคเก๊าท์เกิดจาก ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงกว่าปกติ และมีการสะสมกรดยูริคเป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายปี จึงทำให้กรดยูริคตกตะกอน สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมมากที่ข้อต่อ ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ และปวดแดงร้อนบริเวณข้อต่อ, ถ้ากรดยูริคสะสมอยู่ตามผิวหนังมาก จะส่งผลให้เกิดปุ่มนูนบนขึ้นตามผิวหนัง, ถ้ากรดยูริคสะสมที่ไตมาก ก็จะเกิดเป็นโรคนิ่วในใตและเกิดอาการใตเสื่อม เป็นต้น


สาเหตุของโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์เกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไป (hyperuricemia) ซึ่งสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมีคำอธิบายที่ยังไม่ชัดเจน แต่มีความเชื่อว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรมน่าจะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว



เมื่อกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น อาจตกผลึกในข้อต่อ ซึ่งจะกระตุ้นกระบวนการในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการอักเสบ รวมถึงอาการปวด และบวมของข้อต่อ





แม้ว่าสาเหตุของโรคเก๊าท์ที่แท้จริงยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างพบว่าเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของกรดยูริกโดยตรง ได้แก่








การมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน

รับประทานอาหารที่มีพิวรีน (purine) สูง เช่น เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล เนื่องจากพิวรีนสามารถเปลี่ยนเป็นกรดยูริกได้ภายในร่างกาย

ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

ยาบางชนิดที่อาจเพิ่มระดับของกรดยูริก เช่น แอสไพริน (aspirin) ไนอาซิน (niacin) หรือการใช้ยา-ขับปัสสาวะ (diuretics)

ความเจ็บป่วยหรือสภาวะทางการแพทย์บางประการ เช่น การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว หรือโรคความดันโลหิตสูง

กรดยูริคคืออะไร

กรดยูริคนั้นเป็นสารที่เกิดจากร่างกายของเรา สามารถสร้างขึ้นได้เองถึง 80% ในร่างกาย ส่วนอีก 20% ที่เหลือ จะนำเข้ามาจากรับประทานอาหาร ที่มีสารพิวรีนเข้าไป โดยสารพิวรีนสามารถพบได้ในอาหารจำพวก สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง







ถ้าหากในร่างกายมีกรดยูริคมากเกินไป

ตามปกติแล้วร่างกายของคนเรา จะขับกรดยูริคที่เกินความจำเป็นออกไป ได้ทางปัสสาวะ แต่ในร่างกายของบางคนไม่สามารถขับกรดยูริคออกไปได้หมด จึงเกิดกรดยูริคสะสมในร่างกาย โดยเฉพาะในบริเวณของกระดูก ผนังหลอดเลือด และไต(ที่เป็นตัวฟอกเลือด+ขับกรดยูริคไปทางปัสสวะ) ดังนั้น การขับกรดยูริคออกไปไม่หมดจนตกตะกอนมากๆ จึงกลายเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเก๊าท์


อาการของโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ในระยะเริ่มแรก คือมีอาการปวดแดงอย่างเฉียบพลัน โดยในช่วงวันแรกจะเป็นช่วงที่ปวดมากที่สุด และไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า จุดที่จะแสดงอาการก่อนส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้แก่นิ้วโป้งเท้า และตรงข้อเท้า และข้อเข่า หลังจากเวลาผ่านไปในวันที่สองอาการปวดก็จะเบาบางลงและหายปวดใน 5 - 7 วันหลังเกิดอาการ โดยสถิติแล้วพบว่า เพศชายมีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าเพศหญิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น