jumbohealth.blogspot.com รวมบทความสาระดีๆเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อการมีสุขภาพที่ยืนยาวและแข็งแรง
วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561
แนวทางดูแลสุขภาพโรคข้อเสื่อม บิมร้อย อาหารเสริมดูแลสุขภาพ โทร 088 826 4444
แนวทางดูแลสุขภาพโรคข้อเสื่อม บิมร้อย อาหารเสริมดูแลสุขภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
https://www.jumbolifeshop.com/p/23
โทร 094-709-4444 , 089-071-8889,
094-435-0404 , 088-826-4444
ไลน์: @jumbolife
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่มักพบได้บ่อยอย่างมาก และเนื่องจาก ข้อเข่า เป็นอวัยวะที่จะต้องรองรับน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลา
อีกทั้ง ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพคล่องแคล่ว
แต่หากเราใช้ชีวิตแบบผิดๆ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กับพฤติกรรมบางอย่าง ที่เป็นปัจจัยนำมาสู่การเกิด โรคข้อเข่าเสื่อม อยู่ก็ย่อมไม่ดีเป็นแน่
โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุที่มีโอกาสในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมสูง ยิ่งไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพในระหว่างวันอย่างยิ่ง
ดังนั้น เพื่อลดอาการปวด และช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของข้อเข่าในวัยสูงอายุ รวมถึงช่วงวัยอื่นๆ ด้วย
เราจึงชวนคุณมาทำความรู้จักโรคข้อเข่าเสื่อมโดยละเอียด ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม อาการ และแนวทางรักษามีอย่างไรบ้าง มาติดตามกันดังต่อไปนี้ได้เลย
ทำความรู้จักโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ โดยพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเรื้อรัง อย่างเช่น
โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุขึ้นที่ข้อเข่า ก็สามารถเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุยังไม่มากได้เช่นเดียวกัน
โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีโอกาสในการเกิดโรคข้อเสื่อมได้สูงกว่าผู้ชาย อันเนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงน้อยกว่าผู้ชายนั่นเอง
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
อาการปวดเข่า ถือเป็นอาการสำคัญแรกเริ่มของการเป็นโรคนี้เลยก็ว่าได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อยตึงเข่าทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
รวมทั้งยังปวดตึงบริเวณน่องร่วมด้วย ในกรณีที่มีอาการหนักมากขึ้นก็จะปวดเข่า แม้กระทั่งมีการเคลื่อนไหว
ไม่ว่าจะเป็นการลุก นั่ง เดิน และทำให้การเดินขึ้น-ลงบันได ยังเป็นไปอย่างไม่คล่องตัวเช่นเดิมอีกด้วย
ข้อเข่าโก่งงอ ลักษณะของข้อเข่าสามารถโก่งได้ทั้งด้านนอกและด้านใน ทำให้ขาสั่น การเดินเป็นไปอย่างลำบาก และยังมีอาการปวดในเวลาเดินร่วมด้วย
ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดขา หรืองอขาออกได้สุดเช่นเดิม เพราะมีการยึดติดกันอยู่ภายในข้อ
มีเสียงขึ้นภายในข้อ เมื่อผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวหรือเดิน ก็จะรู้สึกได้ถึงเสียงที่เกิดขึ้นภายในข้อ โดยมาพร้อมๆ กับอาการปวดเข่า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น