วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

บิม100 โรคจอประสาทตาเสื่อม ผู้มีปัญหาวุ้นตาเสื่อม





บิม100 โรคจอประสาทตาเสื่อม ผู้มีปัญหาวุ้นตาเสื่อม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/473

โทร.  094-709-4444  ,  088-826-4444

ไลน์  :  @jumbolife หรือคลื๊ก https://line.me/R/ti/p/%40jumbolife



น้ำวุ้นตา หรือ vitreous เป็นสารใสคล้ายเจลอยู่ภายในลูกตาส่วนหลัง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้แสงผ่าน ให้สารอาหารแก่จอประสาทตาและเซลล์ผนังลูกตาชั้นใน และยังช่วยพยุงลูกตาให้คงรูปเป็นทรงกลม ตัวการสำคัญที่ทำให้น้ำวุ้นตาเสื่อม คืออายุที่มากขึ้น ส่วนมากจะพบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากน้ำวุ้นตาจะมีการหดตัวและหนาตัวเป็นจุด หรือเป็นเส้นภายในลูกตา การหดตัวของน้ำวุ้นตานี้จะทำให้น้ำวุ้นตาแยกห่างออกจากจอประสาทตารวมกันเป็นกลุ่มก้อนที่มีลักษณะทึบแสง ทำให้เห็นเป็นเงาเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุทางตา บริเวณศีรษะ หรือมีการอักเสบในลูกตา จะทำให้น้ำลูกตาเสื่อมเร็วกว่าปกติได้ และผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมากๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำวุ้นลูกตาเสื่อมเร็วกว่าปกติได้



อาการของโรควุ้นตาเสื่อม

·เริ่มมองเห็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมาโดยเฉพาะเวลากลอกตา หรือมองที่ผนังสีขาว หรือท้องฟ้า

·ระยะแรกจะสังเกตเห็นเงาของวุ้นตาที่เสื่อมเป็นจุดและเส้นดำลอย ซึ่งจะเคลื่อนไหวเมื่อกลอกตา อาจรบกวนการมองและรู้สึกรำคาญ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสมองจะเรียนรู้และละเลยเงาเหล่านี้ไปเอง อาจไม่เห็นหากไม่พยายามสังเกต

·เมื่อวุ้นตาเหลวและหดตัวมาก อาจจะลอกตัวออกจากผิวจอตาเอง และอาจดึงรั้งผิวจอตาทำให้เกิดการกระตุ้นจอตาเห็นเป็นแสงวาบคล้ายแฟลชจากกล้องถ่ายรูป หรือแสงฟ้าแลบในดวงตาแม้ในขณะหลับตา ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืดหรือเวลากลางคืน อาการเหล่านี้อาจลดลงและหายไปเมื่อจอตาถูกดึงรั้งจากวุ้นตาลดลง



·ในบางรายวุ้นตาอาจดึงรั้งหลอดเลือดที่จอตาให้ฉีดขาดและเกิดเลือดออกในวุ้นตาทำให้เห็นเงาดำเพิ่มมากขึ้นทันที ซึ่งถ้าวุ้นตาติดแน่นกับจอตามากอาจดึงรั้งให้จอตาฉีกขาดได้ และหากวุ้นตาที่เหลวเซาะเข้าไปในรอยขาด จะทำให้จอตาลอกและอาจสูญเสียการมองเห็นได้

การดูแลภาวะวุ้นตาเสื่อม

    ผู้ที่มีอาการมองเห็นจุดดำลอยหรือแสงแฟลชในตาควรพบจักษุแพทย์เพื่อขยายรูม่านตาและตรวจจอตาและวุ้นตาอย่างละเอียด หลังหยอดยาขยายม่านตาจะมีอาการตาพร่า และจะกลับเป็นปกติเมื่อยาหมดฤทธิ์ใน 4-6 ชั่วโมง



    ภาวะวุ้นตาเสื่อมไม่จำเป็นต้องรักษา ควรติดตามสังเกตอาการซึ่งอาจจะค่อยๆ ลดลงได้เอง ควรตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการดึงรั้งจอตา เช่น การสะบัดศีรษะอย่างรุนแรงและอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับดวงตา จักษุแพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะตามปัจจัยเสี่ยง หากอาการไม่ลดลงและตรวจพบรอยฉีกขาดที่จอตา การรักษาด้วยเลเซอร์จะช่วยป้องกันจอตาลอกได้  อย่างไรก็ตาม การเห็นเงาดำอาจเกิดจากภาวะอื่นๆ ได้ ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น