jumbohealth.blogspot.com รวมบทความสาระดีๆเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อการมีสุขภาพที่ยืนยาวและแข็งแรง
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ดูแลสุขภาพโรคมะเร็งเต้านม BIM100 น้ำมังคุด ช่วย โรคมะเร็ง
ดูแลสุขภาพโรคมะเร็งเต้านม BIM100 อาหารเสริมน้ำมังคุด ช่วย โรคมะเร็ง
สอบถามเพิ่มเติม
http://www.bim100foryou.com/
โทร. 094-709-4444 , 088-826-4444 , 089-071-8889 , 094-435-0404
ไลน์ : @jumbolife (มี@ข้างหน้าด้วยนะคะ)หรือคลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40jumbolife
มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติส่วนใดส่วนหนึ่งภายในเต้านมเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งและขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ก่อนจะลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงและแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นของร่างกาย มะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก
มะเร็งเต้านม
ภายในเต้านมของผู้หญิงจะประกอบไปด้วยต่อมผลิตน้ำนม ท่อน้ำนม เนื้อเยื่อไขมัน ท่อน้ำเหลือง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน หลอดเลือดต่าง ๆ ซึ่งเซลล์มะเร็งส่วนใหญ่ที่พบมักจะเกิดขึ้นบริเวณต่อมผลิตน้ำนม (Lobules) และท่อน้ำนม (Ducts) มากกว่าส่วนอื่น การก่อตัวของมะเร็งเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกส่วนภายในเต้านมในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากเซลล์ผิดปกติมีการแบ่งตัวมากขึ้นเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถควบคุมได้ และขยายใหญ่ขึ้นเป็นก้อนเนื้อร้าย ก่อนจะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง ระบบน้ำเหลือง และสุดท้ายกระจายไปยังกระแสเลือด และไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
ระยะของมะเร็งเต้านม
ระยะความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนเนื้อ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่ต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
ระยะ 0-1: พบเซลล์ผิดปกติภายในเนื้อเยื่อเต้านม และก้อนเนื้อมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร แต่ยังจำกัดการเกิดเฉพาะภายในเต้านม ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่พบการลุกลามของโรคไปยังส่วนอื่น สำหรับระยะนี้มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี เกือบ 100%
ระยะ 2: ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองเฉพาะบริเวณรักแร้ แต่จำนวนไม่กี่ต่อม หรืออาจไม่พบก้อนเนื้อ แต่พบเซลล์มะเร็งบริเวณต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ประมาณ 93%
ระยะ 3: เนื้อเยื่อเต้านมถูกมะเร็งทำลายเป็นบริเวณกว้างขึ้น ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นมากกว่า 5 เซนติเมตร มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้และต่อมน้ำเหลืองอื่นในบริเวณใกล้เคียงเต้านม หรือก้อนเนื้อขยายใหญ่ขึ้นไม่เกิน 5 เซนติเมตร และมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองจำนวนมากขึ้น โดยอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีของระยะนี้อยู่ที่ประมาณ 72%
ระยะ 4: โรคมีการแพร่กระจายเข้าหลอดเลือดไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ตับ สมอง ปอด กระดูก ซึ่งเป็นระยะที่รักษาไม่หายขาด และมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ประมาณ 22%
สำหรับในประเทศไทย โรคมะเร็งเต้านมได้กลายมาเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง จากเดิมที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งปากมดลูก โดยรายงานล่าสุดจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในปี 2557 จำนวนผู้ป่วยในทะเบียนรักษาโรคมะเร็งทั้งสิ้น 14,966 ราย โดยเป็นผู้ป่วยเพศชาย 162 ราย และผู้ป่วยเพศหญิง 14,804 ราย หรือนับเป็น 0.51 ราย และ 44.42 ราย ต่อประชากรไทย 100,000 คน ตามลำดับ ซึ่งคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น จะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ผู้ป่วยหายขาดได้มากขึ้น
อาการของมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมในระยะแรกแทบไม่แสดงอาการใด ๆ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยการคลำพบก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้มากที่สุด อาการอื่น ๆ อาจสังเกตได้จากขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หัวนมบุ๋ม เป็นแผล อาจมีน้ำเหลืองหรือของเหลวสีคล้ายเลือดไหลออกมาหรือเป็นผื่นบริเวณหัวนม
สาเหตุของมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเพศหญิง ทั้งจากสภาพแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมการใช้ชีวิต อายุที่มากขึ้น ผู้หญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีช่วงระยะของการมีประจำเดือนนาน และอีกหลายปัจจัย ทั้งนี้บางปัจจัยสามารถแก้ไขได้ แต่บางปัจจัยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือเชื้อชาติ เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น