วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

BIM100 วิธีดูแลสุขภาพโรคข้อเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าอักเสบ





BIM100 วิธีดูแลสุขภาพโรคข้อเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าอักเสบ

สอบถามเพิ่มเติม

https://www.bim100foryou.com/

โทร 094-709-4444 ,  089-071-8889,

        094-435-0404 , 088-826-4444

ไลน์:  @jumbolife หรือคลิกลิ้งค์  https://line.me/R/ti/p/%40jumbolife



เข่าเสื่อม (Knee Ostoearthritis) เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ข้อเข่า โดยมีสาเหตุสำคัญคืออายุที่มากขึ้น รวมไปถึงสาเหตุอื่น ๆ เช่น มีน้ำหนักตัวมาก เกิดอาการบาดเจ็บ หรือกรรมพันธุ์



โรคข้อเข่าเสื่อมนี้เกิดจากการเสื่อมตามอายุขัยส่วนใหญ่ เกิดกับข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อกระดูกสันหลัง ปัญหาปวดเข่าพบได้มากในผู้สูงอายุหญิงมากกว่าชาย เนื่องจากขนบธรรมเนียมไทยที่ต้องนั่งคุกเข่าพับเพียบ ขัดสมาธิ ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้ข้อเข่าถูกกดพับ และเอ็นกล้ามเนื้อถูกยึดมาก การนั่งเช่นนั้นนานๆ ทำให้การหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงเข่าไม่ได้ดี และเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อีกทั้งต้องทำงานหนักไม่มีการพัก ประกอบกับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เข่าต้องแบกน้ำหนักส่วนเกินนั้น กล้ามเนื้อจึงหย่อนสมรรถภาพลง จึงทำให้เป็นโรคเข่าเสื่อมได้ง่าย



สาเหตุหลักๆ ได้แก่



เป็นผลจากความเสื่อม และการใช้เข่าที่ไม่ถูกต้องมานาน

ความอ้วน น้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น

เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน เช่น กระดูกบริเวณเข่าหัก, ข้อเข่าเคลื่อนหลุด, เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาด

โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น

ข้อเข่าเสื่อม



อาการเริ่มแรกที่เตือนให้รู้ว่าเข่ากำลังมีปัญหา

เจ็บปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นปวดแบบเมื่อยๆ พอทน ปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือในรายที่เข่าได้รับบาดเจ็บ จะปวดแบบเฉียบพลันและปวดรุนแรง



เข่าบวม เข่าที่บวมทันทีภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ มักเกิดจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า บวมที่เกิดขึ้นช้าๆ มักเกิดจากมีความผิดปกติขององค์ประกอบภายในข้อเอง



เข่าอ่อนหรือเข่าสะดุดติด อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากมีบางสิ่งบางอย่างภายในข้อ ทำให้งอ หรือเหยียดเข่าในทันทีทันใดไม่ได้ เช่น เส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนที่ฉีกขาด หรือเศษกระดูกที่หยุดอยู่ในข้อ

เข่าฝืดหรือยึดติด อาจเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน นั่งนานๆ แล้วลุกขึ้น หรือเกิดขึ้นภายหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า



เมื่อปรากฎอาการดังกล่าวแล้วแสดงว่า ท่านเริ่มมีปัญหาของข้อเข่า ควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง และพิจารณาดูว่า มีอะไรเป็นสาเหตุดังกล่าว จะเป็นต้องเริ่มต้นฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อของข้อเข่าให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะให้หลักประกันได้ว่า ท่านจะสามารถยืนและเดินอยู่บนขา และเข่าของตนเองได้ตลอดไป



การวินิจฉัยเข่าเสื่อม



แพทย์จะเริ่มต้นจากการถามประวัติ เช่น อาการ โรคประจำตัว หรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และตรวจสอบอาการต่าง ๆ จากการตรวจเข่า เช่น อาการบวมแดง อาการกดเจ็บ และดูการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เพื่อช่วยให้วินิจฉัยได้ละเอียดและหาสาเหตุได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือวินิจฉัยหาสาเหตอื่น ๆ ด้วยการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่ เอกซเรย์ (X-rays) หรือใช้เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)



นอกจากนั้น แพทย์อาจตรวจน้ำในไขข้อหรือตรวจเลือด เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้มีอาการปวดข้อหรืออาการที่คล้ายเข่าเสื่อม เช่น รูมาตอยด์ โรคเก๊าท์  การอักเสบหรือการติดเชื้อต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น