jumbohealth.blogspot.com รวมบทความสาระดีๆเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อการมีสุขภาพที่ยืนยาวและแข็งแรง
วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
BIM100 น้ำมังคุด สาเหตุอาการปวดเข่า โรคข้อเข่าเสื่อม
BIM100 น้ำมังคุด สาเหตุอาการปวดเข่า โรคข้อเข่าเสื่อม
สอบถามเพิ่มเติม
https://www.bim100foryou.com/
โทร 094-709-4444 , 089-071-8889,
094-435-0404 , 088-826-4444
ไลน์: @jumbolife หรือคลิกลิ้งค์ https://line.me/R/ti/p/%40jumbolife
โรคข้อเสื่อมจัดเป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากความเสื่อมของร่างกายทำให้เกิดความไม่สมดุลในการสร้าง การทำลายและการซ่อมแซมภายในข้อ เกิดการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้ออย่างช้าๆทำให้ผิวกระดูกอ่อนสึกกร่อน กระดูกใต้กระดูกอ่อนหนาตัวเกิดกระดูกงอกทั้งตรงกลางและริมกระดูก และเยื่อบุผิวข้อสร้างน้ำไขข้อลดลงผลจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ข้อฝืด ใช้งานข้อไม่คล่อง มีเสียงดังในข้อปวดหรือเสียวในข้อโดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวหรือใช้งานข้อมากกว่าปกติโรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้อที่บ่อยที่สุดโดยเฉพาะผู้หญิงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุตั้งแต่ 80 ปีเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความพิการทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงเป็นโรคที่สำคัญทางสาธารณสุขมากที่สุดโรคหนึ่ง1,2
ประเภทของข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมแบ่งเป็น 2 ประเภทตามสาเหตุและปัจจัยเสริม ได้แก่ข้อเสื่อมชนิดปฐมภูมิ (primary) คือไม่สามารถระบุสาเหตุหรือปัจจัยเสริมได้ชัดเจนและเป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด ส่วนข้อเสื่อมชนิดทุติยภูมิ (secondary) เกิดจากสาเหตุทางเมตาบอลิก เช่นโรคเก๊าท์เทียม ข้อเสื่อมจากการบาดเจ็บและข้อเสื่อมจากโรคข้อเรื้อรังเช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์อย่างไรก็ตามโรคข้อเสื่อมทั้งสองประเภทนี้จะมีอาการและอาการแสดงที่คล้ายคลึงกัน
สาเหตุของโรค โรคข้อเสื่อมเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. ปัจจัยทั่วไป (constitutional factors) เช่น พันธุกรรม เพศ อายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว
เพศ เพศหญิงมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือช่วงวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (estrogen) ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่มีตัวจับกับฮอร์โมนเพศหญิงทำงานน้อยลงทำให้การสร้างโปรติโอไกลแคน (proteoglycan) ที่ใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนลดลงอย่างไรก็ตามพบว่าหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนจะช่วยลดโอกาสเกิดข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมได้3
อายุ โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีจะเป็นโรคข้อเสื่อมถ้านำผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าวมาถ่ายภาพเอกซเรย์ก็จะพบข้อเสื่อมทุกรายแต่จะมีอาการหรือไม่นั้นก็ขึ้นกับปัจจัยอื่นอีกทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นการตอบสนองต่อสารกระตุ้นการเจริญเติบโต (growth factor) จะลดลง การสังเคราะห์โปรติโอไกลแคนไม่สมบูรณ์มีโปรตีนเชื่อมต่อน้อยลงนอกจากนี้อายุที่มากขึ้นยังทำให้เซลล์กระดูกหมดอายุขัยเร็วขึ้นรวมถึงการสร้างและการซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อน (chondrocyte) ลดลง
ความอ้วน บุคคลที่มีน้ำหนักมากหรือมีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) สูงกว่าปกติจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นเนื่องจากข้อเข่าเป็นจุดรับน้ำหนักของร่างกายเมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นแรงที่กดลงบนผิวข้อก็จะเพิ่มขึ้นและเนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่ใช้ในการทรงตัวมากที่สุดดังนั้นเมื่อใช้งานข้อเข่าอย่างหนักเช่นขึ้นลงบันไดมาก แบกของหนักจะยิ่งเพิ่มแรงกดลงที่ข้อเข่านอกจากนี้น้ำหนักที่มากเกินไปยังมีผลต่อท่าทางการเดินทำให้เข่าโก่งออกทำให้เวลาเดินจะเจ็บข้อเข่าด้านในได้
2. ปัจจัยเฉพาะที่ (local adverse mechanical factors) เช่น ตำแหน่งของข้อ การบาดเจ็บที่ข้อ
ตำแหน่งของข้อ มีผลอย่างมากเนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องรับน้ำหนัก เช่นข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อ
สะโพกแต่ละข้อมีเอนไซม์และการตอบสนองต่อการอักเสบต่างกันสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่สำคัญคือสารไซโตไคน์ (cytokine) โดยพบว่าที่เซลล์กระดูกอ่อนข้อเข่ามีตัวรับไซโตไคน์ ชนิดอินเตอร์ลิวคิน 1 (interleukine 1, IL- 1) และเอนไซม์ MMP-8 มากกว่าที่ข้อเท้าดังนั้นข้อเข่าจึงมีโอกาสเสื่อมมากกว่าที่ข้อเท้า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น