วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

BIM100 อาการตาแห้ง โรคตาเสื่อม





BIM100 อาการตาแห้ง โรคตาเสื่อม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/473

โทร.  094-709-4444  ,  088-826-4444

ไลน์  :  @jumbolife หรือคลื๊ก https://line.me/R/ti/p/%40jumbolife



อาการของโรควุ้นตาเสื่อม

·เริ่มมองเห็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมาโดยเฉพาะเวลากลอกตา หรือมองที่ผนังสีขาว หรือท้องฟ้า

·ระยะแรกจะสังเกตเห็นเงาของวุ้นตาที่เสื่อมเป็นจุดและเส้นดำลอย ซึ่งจะเคลื่อนไหวเมื่อกลอกตา อาจรบกวนการมองและรู้สึกรำคาญ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสมองจะเรียนรู้และละเลยเงาเหล่านี้ไปเอง อาจไม่เห็นหากไม่พยายามสังเกต

·เมื่อวุ้นตาเหลวและหดตัวมาก อาจจะลอกตัวออกจากผิวจอตาเอง และอาจดึงรั้งผิวจอตาทำให้เกิดการกระตุ้นจอตาเห็นเป็นแสงวาบคล้ายแฟลชจากกล้องถ่ายรูป หรือแสงฟ้าแลบในดวงตาแม้ในขณะหลับตา ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืดหรือเวลากลางคืน อาการเหล่านี้อาจลดลงและหายไปเมื่อจอตาถูกดึงรั้งจากวุ้นตาลดลง

·ในบางรายวุ้นตาอาจดึงรั้งหลอดเลือดที่จอตาให้ฉีดขาดและเกิดเลือดออกในวุ้นตาทำให้เห็นเงาดำเพิ่มมากขึ้นทันที ซึ่งถ้าวุ้นตาติดแน่นกับจอตามากอาจดึงรั้งให้จอตาฉีกขาดได้ และหากวุ้นตาที่เหลวเซาะเข้าไปในรอยขาด จะทำให้จอตาลอกและอาจสูญเสียการมองเห็นได้

การดูแลภาวะวุ้นตาเสื่อม

    ผู้ที่มีอาการมองเห็นจุดดำลอยหรือแสงแฟลชในตาควรพบจักษุแพทย์เพื่อขยายรูม่านตาและตรวจจอตาและวุ้นตาอย่างละเอียด หลังหยอดยาขยายม่านตาจะมีอาการตาพร่า และจะกลับเป็นปกติเมื่อยาหมดฤทธิ์ใน 4-6 ชั่วโมง



    ภาวะวุ้นตาเสื่อมไม่จำเป็นต้องรักษา ควรติดตามสังเกตอาการซึ่งอาจจะค่อยๆ ลดลงได้เอง ควรตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการดึงรั้งจอตา เช่น การสะบัดศีรษะอย่างรุนแรงและอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับดวงตา จักษุแพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะตามปัจจัยเสี่ยง หากอาการไม่ลดลงและตรวจพบรอยฉีกขาดที่จอตา การรักษาด้วยเลเซอร์จะช่วยป้องกันจอตาลอกได้  อย่างไรก็ตาม การเห็นเงาดำอาจเกิดจากภาวะอื่นๆ ได้ ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์



คอมพิวเตอร์เป็นสาเหตุของโรควุ้นตาเสื่อม ได้อย่างไร

         โดยปกติแล้วสายตาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40 ปี ขึ้นไป  ยกเว้นผู้ที่เพ่งสายตามากๆ และใช้ติดต่อกันครั้งละนานๆ เช่น ช่างเจียระไนเพชรพลอย อาจมีโอกาสเกิดเร็วขึ้น  แต่ในระยะหลังกลับพบโรคนี้ในวัยหนุ่มสาวคนทำงานออฟฟิศกันมากขึ้นจนน่าตกใจ เรียกได้ว่า โรควุ้นในตาเสื่อม เป็นหนึ่งในโรค Office syndrome และยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยจากหลากหลายอาชีพที่เป็นโรคนี้ และยังเกิดก่อนวัยอันควรอีกด้วย โดยมีสาเหตุมาจากการใช้สายตามากเกินไป หรือเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต    สมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือ รวมถึงการดูโทรทัศน์ด้วย ซึ่งการเพ่งสายตาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะเพื่อการทำงาน การศึกษา ความบันเทิง เล่นอินเตอร์เน็ต สืบค้นข้อมูล อ่านข้อมูลบนจอ แชต เล่นไลน์ หรือเล่นเกมก็ตามจะก่อให้เกิดปัญหากับดวงตาทั้งสิ้น หากมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้สายตาเสียและนำไปสู่ “โรควุ้นตาเสื่อม” รวมทั้งพฤติกรรมและวิธีการใช้งานดังนี้

         1. การเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม  เล่นเน็ต อ่านไดอารี่ อ่านบทความ อ่านหนังสือ หรืออ่านอะไรก็ตามที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นการมองตัวหนังสือที่แขวนลอยอยู่บนจอ เพราะตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะเป็นจุดๆ ประกอบกัน  ขอบของตัวหนังสือไม่ชัด โฟกัสไม่แน่นอน สมองจะสับสนในการปรับระยะโฟกัส  กล้ามเนื้อลูกตาต้องทำงานหนัก

         2. การเลื่อนตัวหนังสือและแถบบรรทัด จะต้องใช้เมาส์คลิ้ก ลากแถบด้านข้างเพื่อเลื่อนบรรทัดขึ้นลง โดยมีลักษณะการเลื่อนแบบกระตุกๆ

         3. การก้มๆ เงยๆ มองแป้นพิมพ์ และมองจอคอมพิวเตอร์กลับไปกลับมาลูกตาปรับโฟกัสบ่อยเกินไป

         4. การปรับจอภาพที่มีแสงสว่างจ้าเกินไปโดยไม่รู้ตัว  เช่น  การเปิดโปรแกรม Word  ในการทำพิมพ์เอกสาร  ตัวหนังสือจะเป็นสีดำ และพื้นเป็นสีขาว  สีพื้นที่สว่างนี้เอง  หากใช้งานติดต่อเป็นเวลานานจะทำให้ตาเกิดอาการแพ้แสง  ซึ่งมีอาการคล้ายๆ กับการเปิดทีวีดูในห้องมืดๆ เป็นประจำ

         5. การใช้จอภาพคอมพิวเตอร์ที่มีความกว้างมากเกินไป  ซึ่งสายตาคนเรานั้นมีระยะการมองตัวอักษร ที่ 1ฟุต (12นิ้ว) แต่จอคอมพิวเตอร์สมัยใหม่กลับมีความกว้าง 17 นิ้ว, 19 นิ้ว หรือมากกว่านั้นซึ่งมีขนาดกว้างเกินระยะกวาดสายตาที่ต้องมองจากขอบหนึ่งไปสู่อีกขอบหนึ่ง  การอ่านหนังสือบนจอเพียง 1 ชั่วโมง ลูกตาจะต้องทำงานปรับโฟกัส  กลับไปกลับมา เป็นพันๆ ครั้ง หากใช้งานติดต่อกันนานๆ ก็จะทำให้สายตาเสียได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น