วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

สาเหตุข้อเสื่อม BIM100 โรคข้อเสื่อม จากการที่อายุเพิ่มขึ้น





สาเหตุข้อเสื่อม BIM100 โรคข้อเสื่อม จากการที่อายุเพิ่มขึ้น

สอบถามเพิ่มเติม

https://www.bim100foryou.com/

โทร 094-709-4444 ,  089-071-8889,

        094-435-0404 , 088-826-4444

ไลน์:  @jumbolife หรือคลิกลิ้งค์  https://line.me/R/ti/p/%40jumbolife



ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อมโรคเป็นความผิดปกติของข้อที่พบได้บ่อยในช่วงเข้าสู่วัยกลางคน ลักษณะของโรคเกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงอย่างช้าๆจนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของข้อ ซึ่งได้แก่ มีน้ำสะสมในข้อเพิ่มขึ้น กระดูกงอกผิดปกติ กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อหย่อนยาน การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดดังกล่าวจะทำให้เคลื่อนไหวข้อได้จำกัดรวมทั้งทำให้เกิดอาการปวดและบวมที่ข้อได้


โรคข้อเสื่อมพบบ่อยในตำแหน่งของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากเช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น ข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมมักทำให้เกิดความรำคาญเนื่องจากจะทำให้มีอาการปวดหรือไม่สบายข้อเมื่อต้องยืนหรือเดิน ในขณะที่ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมจะเป็นเหตุให้ปวดหลังและปวดต้นคอหรือคอแข็งตึงได้ แม้ว่าข้อเสื่อมจะพบในข้อที่ต้องรับน้ำหนัก แต่ก็สามารถพบที่ข้อต่างๆทั่วร่างกายได้โดยเฉพาะข้อที่เคยได้รับการบาดเจ็บ มีการติดเชื้อ หรือเคยมีข้ออักเสบนำมาก่อน สำหรับผู้ป่วยข้อนิ้วมือเสื่อมจะมีอาการปวด ชา หรือแข็งตึงขยับนิ้วลำบาก และตรวจพบก้อนหรือปุ่มกระดูกโตขึ้นที่บริเวณข้อนิ้วมือด้วย

ส่วนใหญ่อาการปวดของโรคข้อเสื่อมมักเกิดในระหว่างที่มีการใช้งานของข้อและจะดีขึ้นเมื่อได้พัก อาจมีอาการฝืดตึงข้อช่วงสั้นๆไม่นานเกินกว่าครึ่งชั่วโมงในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือภายหลังอยู่ในอิริยาบถท่าใดท่าหนึ่งนานๆเช่น หลังจากขับรถ เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่มีอาการรุนแรงมากก็อาจมีอาการปวดข้ออย่างมากและรุนแรงเมื่อใช้งาน รวมทั้งขาดความมั่นคงหรือเสถียรภาพของข้อได้



7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม

1. พันธุกรรม : และความผิดปกติแต่กำเนิดบางชนิด เช่น ขา หรือเข่าผิดรูป

2. อายุ : เมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของกระดูกอ่อนก็ลดลง

3. เพศ : นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะมีแนวโน้มของการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายที่อายุเท่ากัน

4. น้ำหนักตัวมาก : BMI มากกว่า 23 กก./ม.2 (สูตรการหาค่า BMI ทำได้โดย เอาน้ำหนักตัว [หน่วยเป็นกิโลกรัม] หารด้วย ส่วนสูง [หน่วยเป็นเมตร] ยกกำลัง 2 )

5. เคยบาดเจ็บมาก่อน : มีประวัติการบาดเจ็บที่ข้อเข่า ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมได้สูง โดยอาจเป็นผลจาก

– การบาดเจ็บ แม้ร่างกายจะมีการซ่อมแซมตัวเองหลังการบาดเจ็บ โครงสร้างข้อเข่าก็อาจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม

– ได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง

6. ใช้งานหนักเกินไป : ใช้ใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำๆ หรือท่าทางที่ต้องงอเข่ามากเกินไป เช่น การคุกเข่า หรือนั่งยองๆ ทำให้เข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติเป็นเวลานาน หรือบ่อยครั้ง

7. โรคไขข้ออักเสบ : เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ ส่งผลให้กระดูกอ่อนถูกทำลายจนกระทั่งหมดไป ทำให้เกิดอาการปวดและข้อติดแข็งตามมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น