วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคกรดไหลย้อน ภัยร้ายสำหรับคนยุคใหม่







โรคกรดไหลย้อน ภัยร้ายสำหรับคนยุคใหม่

โรคกรดไหลย้อน หมายถึงภาวะที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก
...อาการของกรดไหลย้อน...
อาการทางหลอดอาหาร
• อาการปวดเสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้มปี่ที่เรียกว่าร้อนใน (heart burn) บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได
• รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ
• กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
• เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
• รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
• มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคอตลอดเวลา
• เรอบ่อย คลื่นไส้
• รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
อาการทางกล่องเสียง และปอด
• เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้าหรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม
ไอเรื้อรัง
• ไอ หรือ รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน
• กระแอมไอบ่อย
• อาการหอบหืดแย่ลง
เจ็บหน้าอก
• เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆหายๆ


แนะนำการรักษากรดไหลย้อน



1. ปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน การรักษาวิธีนี้มีความสำคัญมากโดยจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ส่วนบนมากขึ้น ที่สำคัญการรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้วโดยไม่ต้องรับประทานยาแล้วก็ตาม
2. นิสัยส่วนตัว
ถ้าเป็นไปได้ ควรพยายามลดน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเกิน เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด และถ้าสูบบุหรี่อยู่ ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ถ้าไม่เคยสูบบุหรี่ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
3.นิสัยในการรับประทาน
- หลังจากรับประทานอาหารทันที พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ การออกกำลัง ยกของหนัก เอี้ยวหรือก้มตัว
-หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับประทานอาหารใด ๆ อย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนนอน
- พยายามรับประทานอาหารที่มีขมันต่ำ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารมัน พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ฟาสต์ฟูด ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม สะระแหน่ เนย ไข่ นม หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด เป็นต้น
- รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป ควรรับประทานอาหารปริมาณทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ (แม้จะเป็นกาแฟที่ไม่มีกาเฟอีนก็ตาม) ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ วิสกี้ ไวน์ โดยเฉพาะในตอนเย็น
4.นิสัยในการนอน
ถ้าจะนอนหลังรับประทานอาหาร ควรรอประมาณ 3-4 ชั่วโมง เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 - 10 นิ้วจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น





OPERATION BIM ปฏิบัติการภูมิคุ้มกันบำบัด ดูแลปัญหาจากสภาวะแพ้ภูมิตัวเอง SLE สะเก็ดเงิน ภูมิแพ้ กระเพาะอักเสบ กรดไหลย้อน ข้อเข่าเสื่อม เก๊าท์ รูมาตอยด์ เบาหวาน โรคหัวใจ ตับเสื่อม ไตวาย หอบหืด สันนิบาต และมะเร็ง เป็นต้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น