วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เคล็ดลับดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก BIM100 น้ำมังคุด โทร 08...





เคล็ดลับดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก BIM100 น้ำมังคุด

BIM100 น้ำมังคุด อาหารเสริมสมุนไพร สร้างภูมิสมดุล

สอบถามเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/20

โทร 088-826-4444 , 094-709-4444

        089-071-8889 , 094-435-0404

LINE ID : @Jumbolife







มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก (ภาษาอังกฤษ : Prostate cancer) คือ เซลล์ในต่อมลูกหมากที่โตผิดปกติขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นก้อนมะเร็งและแพร่กระจายอยู่ในต่อมลูกหมาก ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงแต่อย่างใด (แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะมีเลือดปนได้) แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษาเซลล์ที่ผิดปกติดังกล่าวจะเจริญเติบโตและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ ต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา และทำให้เสียชีวิตได้






มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในผู้ชาย โดยมักพบได้ในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (พบได้บ่อยในผู้ชายอายุเฉลี่ยประมาณ 70 ปี ส่วนในช่วงอายุ 40-60 ปี อาจพบได้แต่น้อย) ในสหรัฐอเมริกาพบคนเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้สูงถึง 70-80% เมื่ออายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ทั่วโลกพบมะเร็งต่อมลูกหมากได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้ชายทั้งหมดรองจากมะเร็งปอด โดยในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2551 พบผู้ป่วยใหม่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้สูงถึง 186,000 ราย และจากสถิติล่าสุดในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2557 คาดว่าจะพบผู้ป่วยใหม่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้มากถึง 233,000 คน หรือคิดเป็น 24% ของมะเร็งทั้งหมด ส่วนในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2544-2546 พบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ 5.5 ราย ต่อประชากร 100,000 คน



หมายเหตุ : ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) คือ อวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะของเพศชาย มีหน้าที่ในการสร้างน้ำหล่อลื่นที่อยู่ในน้ำอสุจิและช่วยปกป้องสารพันธุกรรม (DNA) ของอสุจิ จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย โดยอวัยวะนี้จะอยู่ในส่วนลึกบริเวณโคนของอวัยวะเพศชายในช่องท้องน้อย อยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (ด้านหน้าติดกับกระเพาะปัสสาวะ ส่วนด้านหลังติดกับลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ดังนั้น ในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงมักตรวจผ่านทางอวัยวะทั้งสองนี้) ตัวต่อมจะแบ่งออกเป็น 2 ซีก และมีท่อปัสสาวะอยู่ตรงกลาง







สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่



ผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็ยิ่งสูงขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้มากในผู้ชายสูงอายุที่มีอายุ 50-60 ปีขึ้นไป (อายุโดยเฉลี่ยคือประมาณ 70 ปี และพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยนั้นจะมีอายุมากกว่า 65 ปี)

พันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อหรือพี่น้อง (บุคคลในครอบครัวสายตรง) เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไปประมาณ 3 เท่า ส่วนการมีญาติผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้สูงขึ้นเช่นกัน

เชื้อชาติ เพราะพบโรคนี้ได้มากในกลุ่มชายชาวตะวันตกทั้งในยุโรปและอเมริกา ในขณะที่ชาวเอเชียจะพบได้น้อยกว่า (พบได้สูงสุดในชายชาวสแกนดิเนเวีย และพบได้ต่ำสุดในชายชาวเอเชีย)

อาหาร โรคนี้อาจมีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ให้พลังงานสูง และอาหารจำพวกเนื้อแดงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภคผักและผลไม้น้อย

การสูบบุหรี่ พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เล็กน้อย แต่ยังต้องมีการศึกษาต่อไป

การมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ในเลือดสูง เช่น จากการใช้ฮอร์โมนชนิดนี้เป็นเวลานาน ๆ

ความอ้วน เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้จะพบได้มากในคนอ้วน และมักจะเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรงและรักษาได้ยากกว่าคนที่ไม่อ้วน (มีงานวิจัยพบว่า มะเร็งต่อมลูกหมากอาจเชื่อมโยงกับการเป็นโรคอ้วน และอาจเพิ่มความรุนแรงของโรคและส่งผลให้ยากต่อการรักษา)

ต่อมลูกหมากอักเสบ มีการศึกษาว่า ต่อมลูกหมากอักเสบอาจเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งลูกหมาก แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

การทำหมันชาย ก่อนหน้านี้พบว่า ผู้ที่ทำหมันก่อนอายุ 35 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้มากกว่าผู้ที่ไม่ทำหมัน แต่การศึกษาในปัจจุบันไม่พบความเสี่ยงดังกล่าว

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งชนิดนี้มักลุกลามช้า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักไม่มีอาการแสดง (อาจตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการไปตรวจเช็กสุขภาพ) แต่เมื่อมะเร็งขยายตัวมากขึ้นเป็นก้อนโตจนไปกดทับท่อปัสสาวะก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะแบบเดียวกับโรคต่อมลูกหมากโต (BPH) ได้ คือ



เกิดอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก ติดขัด ทำให้ต้องออกแรงเบ่งหรือรอนานกว่าจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้ ทำให้ใช้เวลาในการถ่ายปัสสาวะนาน





ปัสสาวะไม่พุ่งเป็นลำ ลำปัสสาวะเบี้ยว แผ่ว หรือเล็กลง

มีความรู้สึกเหมือนถ่ายปัสสาวะไม่สุด

ปัสสาวะบ่อย ห่างกันไม่ถึง 1-2 ชั่วโมง เมื่อมีความรู้สึกเวลาปวดปัสสาวะจะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที (โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนจะปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ทำให้หลังเข้านอนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อย ๆ หรือปัสสาวะราด)

เมื่อเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะไม่ออก รู้สึกปวดปัสสาวะ ปวดตึงท้องน้อย บางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีเลือดออกปนมากับน้ำอสุจิ เนื่องจากการเบ่งถ่ายนาน ๆ ทำให้หลอดเลือดดำที่ท่อปัสสาวะคั่งแล้วแตกมีเลือดออก (ในรายที่ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด อาจเกิดจากเนื้องอกของทางเดินปัสสาวะหรือนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น