วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

BIM100 อาการตาเสื่อม อาจนำไปสู่การตาบอดได้ โทร 094 709 4444





BIM100 อาการตาเสื่อม อาจนำไปสู่การตาบอดได้

BIM100 น้ำมังคุด อาหารเสริมสมุนไพร สร้างภูมิสมดุล

สอบถามเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/23

โทร 088-826-4444 , 094-709-4444

        089-071-8889 , 094-435-0404

LINE ID : @Jumbolife







โรคจอประสาทตาเสื่อม คือโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นตรงจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา ส่วนใหญ่จะพบมากในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือในพันธุกรรม จอประสาทตาเป็นส่วนที่อยู่บริเวณหลังสุดของตา เมื่อใช้สายตามองไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แสงที่กระทบสิ่งของจะส่งผ่านเข้าไปในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าผ่านเส้นประสาทตาไปยังสมอง ซึ่งบริเวณจอประสาทตาจะมีส่วนที่ไวที่สุดของจอประสาทตาคือ แมคูลา ลูเตีย ที่ประกอบไปด้วยเซลล์รับแสงนับล้าน ที่ช่วยในการมองภาพได้คมชัดยิ่งขึ้น

แต่ในผู้ที่เป็นจอประสาทตาเสื่อม จะโดนทำลายตัวแมคูลา ลูเตียไปทีละน้อย จะค่อย ๆ ลุกลามอย่างช้า ๆ จนอาจจะมีผลทำให้ตาบอดไปในที่สุด ทั้งนี้อาจจะบอดแค่ข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ โรคนี้มักเป็นสาเหตุหลักของการตาบอดในผู้สูงอายุ



โรคจอประสาทตาเสื่อมแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด

จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคนี้จะเกิดการสลายตัวของเซลล์ไวแสง ที่จะมีการเสื่อมสลาย หรือบางลงของจุดรับภาพ ซึ่งจะเป็นการเสื่อมไปตามอายุ ความสามารถในการมองเห็นก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ

จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ที่พบได้ประมาณ 10-15% ของผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด แต่มีปัญหาเรื่องของการเกิดความเสียหายที่รวดเร็ว และเป็นสาเหตุสำคัญหลักที่ทำให้ผู้ป่วยตาบอด ซึ่งเกิดจากมีเส้นเลือดงอกออกมาอยู่ใต้จอประสาทตาแบบผิดปกติ ทำให้จุดกลางรับภาพเกิดการบวมจึงเป็นเหตุทำให้มองภาพเห็นเป็นภาพที่บิดเบี้ยว จนภาพที่เห็นจะมืดลงและดับไปในที่สุด

ความเสี่ยงที่ก่อเกิดจอประสาทตาเสื่อม

ปัจจัยหลัก ๆ จะอยู่ที่อายุที่มากขึ้น มักพบผู้ป่วยโรคนี้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่



การสูบบุหรี่ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเห็นได้ชัด

ความดันสูง มักพบโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้ที่ต้องทานยาลดความดันเลือด และมีระดับของคลอเรสเตอร์รอลในเลือดสูง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้จะ มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็นที่เร็วกว่าผู้ป่วยรายอื่น ๆ

การเผชิญกับแดดมากจนเกินไป หรือการออกแดดในเวลาที่แดดร้อนจัดโดยไม่มีการใส่แว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานป้องกัน

อาจจะเกิดจากพันธุกรรม โดยจะมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของคนที่เป็นโรคสายตรงไปสู่ญาติพี่น้อง ดังนั้นคนในครอบครัวของผู้ที่เป็นควรจะต้องไปตรวจเช็คสายตาทุก 2 ปี

โรคนี้มักจะเกิดกับผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย และมักจะเกิดกับคนผิวขาวโดยส่วนใหญ่











ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานยาฮอร์โมนก็จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงต่อโรคจอประสาทตาเสื่อมเช่นกัน

โดยในบางรายอาจจะมีอาการที่หนักถึงขั้นมีภาวะเลือดออกภายในลูกตาแบบล้นทะลักออกมา ส่งผลให้มองไม่เห็นภาพใด ๆ เลย จึงต้องได้รับการผ่าตัดที่เร่งด่วนเพื่อห้ามเลือดที่ออกอยู่ในลูกตาก่อน จึงจะทำการรักษาต่อไปได้ ซึ่งช่วงที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือช่วงหลังการผ่าตัด เนื่องจากผู้ป่วยจะต้องดูแลแผลหลังผ่าตัดให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการติดเชื้อจนเข้าสู่สภาวะวิกฤตได้





อาการของโรค



อาการของผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมนั้น จะแสดงออกที่แตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน และยากต่อการสังเกตว่าเป็นหรือไม่เป็นในระยะเริ่มแรก เพราะอาการมักจะออกก็ต่อเมื่อเริ่มเป็นในระยะที่เริ่มรุนแรงแล้ว จึงต้องคอยไปตรวจสายตา หรือสังเกตดูว่าตาข้างใดเริ่มมีปัญหาหรือไม่ แต่ถ้าเกิดขึ้นในตาทั้ง 2 ข้างก็อาจจะรู้สึกถึงอาการได้เร็วกว่าคนที่เป็นแค่ข้างใดข้างหนึ่ง เพราะอาการผิดปกติจะแสดงออกให้เห็นในรูปแบบของการมองเห็นที่ผิดเพี้ยน รูปภาพบิดเบี้ยว ส่วนกลางของรูปจะหายไปมองเห็นแค่รายละเอียดรอบ ๆ หรือไม่ภาพนั้นก็จะมืดดำไปเลย



ทางการแพทย์ได้มีการแนะนำวิธีสังเกตว่า ผู้ที่มีอายุในช่วง 40 -64 ปี ควรเริ่มที่จะต้องไปตรวจสุขภาพตาทุก ๆ 2-4 ปี แต่ถ้าอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ให้ไปตรวจทุก ๆ 1-2 ปีถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ควรที่จะไปตรวจไว้ เพื่อเป็นการป้องกันและรู้ทันโรคก่อนที่อาการจะรุนแรงหนักขึ้นโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว



ส่วนการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ ทำได้เพียงการชะลอไม่ให้อาการเสื่อมของตาดำเนินไปอย่างรวดเร็วได้เพียงเท่านั้น



การดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม

รับประทานอาหารและวิตามินที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นวิตามินซี, อี, เบต้าแคโรทีน และซิงค์ ในปริมาณที่สูงซึ่งจะสามารถลดความเสี่ยงที่รุนแรงต่ออาการเสื่อมได้ร้อยละ 25 ในคนไข้ที่เสื่อมแล้วในระยะ 3 หรือ4

จะต้องรับประทานวิตามินทดแทนต่อวัน คือ วิตามินซี 500 มิลลิกรัม, วิตามินอี 400 IU, เบต้าแคโรทีน 15 มิลลิกรัม, ซิงค์ 80 มิลลิกรัม และ Copper 2 มิลลิกรัม



งดการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะเมื่อทานสารเบต้าแคโรทีนแล้วต้องห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะสารตัวนี้เมื่อเข้าไปผสมกับควันของบุหรี่แล้วจะยิ่งเข้าไปเร่งการเกิดมะเร็งในปอดให้มากยิ่งขึ้น

ที่สำคัญคือสารทดแทน และวิตามินเหล่านี้ไม่สามารถที่จะป้องกันหรือรักษาได้ แต่แค่เป็นการลดความเสี่ยงที่โรคจะเข้าสู้สภาวะที่รุนแรง จนอาจถึงขั้นตาบอดได้เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์และการผ่าตัด เพื่อรักษาอาการจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกที่มีอาการที่รุนแรงมาก แต่ก็เป็นแค่การลดความเสื่อมให้ช้าลงเท่านั้นไม่ใช่การทำให้โรคนี้หายขาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น