วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ดูแลสุขภาพโรคโลหิตจาง หลินจือมิน เห็ดหลินจือแดง บำรุงร่างกายไม่ให้อ่อนแอ...





ดูแลสุขภาพโรคโลหิตจาง หลินจือมิน เห็ดหลินจือแดง บำรุงร่างกายไม่ให้อ่อนแอไปตามโรค

สอบถามรายละเอียด

http://www.Linhzhiminkorea.com

โทร 089-071-8889 , 094-709-4444 , 094-435-0404

LINE ID : @Jumbolifeshop

https://www.facebook.com/LINHZHIMIN2U




โลหิตจาง (e-magazine)




          โลหิตจางเป็นความผิดปกติของเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด



          โรงพยาบาลหลายแห่งกำลังขาดแคลนเลือด ซึ่งทีมงามอีแมกกาซีนก็พร้อมที่จะช่วยเหลือสังคม แต่ทว่าหนึ่งสาวในทีมของเรากลับไม่สามารถบริจาคเลือดได้ แม้ว่าเธอจะดูแลร่างกายและพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม โดยคุณหมอได้ให้เหตุผลว่า เธอมีอาการของโลหิตจาง ซึ่งวันนี้เราคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับโรคที่ว่านี้กัน


          ภาวะโลหิตจาง (Anemia) เป็นโรคทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยที่สุด โดยเกิดจากการมีจำนวนเม็ดโลหิตแดงน้อยหรือมีการทำงานที่ผิดปกติ สีของเม็ดเลือดแดงมาจากฮีโมโกลบิล ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีธาตุเหล็กเป็นตัวนำออกซิเจน



          สำหรับการเกิดของโรคโลหิตจางก็เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการขาดอาหาร การเผาผลาญบกพร่อง ยาบางชนิด ได้รับสารพิษ เสียโลหิตเป็นจำนวนมาก เป็นมะเร็งและโรคอื่นอีกหลายชนิด








โรคโลหิตจาง อาการป่วยของคนขาดธาตุเหล็ก



            คุณเป็นโลหิตจางหรือไม่



          ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ผิวซีด หอบเหนื่อย หัวใจเต้นแรง แต่การวินิจฉัยที่แน่นอนคือการตรวจเลือด (CBC) แล้วใครบ้างละเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการเกิดโรค



          กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง ได้แก่ สตรีมีครรภ์ สตรีหลังคลอด สตรีมีประจำเดือน และเด็กในวัยเจริญเติบโต ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์จะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายสามารถนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงคุณแม่ และทารกในครรภ์อย่างเพียงพอ



          ส่วนสตรีหลังคลอดจะสูญเสียธาตุเหล็กไปกับเลือดขณะคลอด ดังนั้น ร่างกายต้องการธาตุเหล็กมากกว่าปกติเช่นกัน สำหรับเด็กจะต้องการธาตุเหล็กโดยเฉลี่ย 1 มิลลิกรัมต่อวัน จึงเพียงพอต่อร่างกายที่กำลังเจริญเติบโต แต่ธาตุเหล็กจากอาหารจะได้รับการดูดซึมไม่ดีนัก หรือเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็กจึงควรได้รับธาตุเหล็กวันละ 8 ถึง 10 มิลลิกรัม ทั้งนี้ ความต้องการธาตุเหล็กของเด็กที่ดื่มนมแม่จะน้อยกว่านี้ เพราะธาตุเหล็กจากนมแม่จะดูดซึมได้ดีกว่าถึง 3 เท่าตัว


โรคโลหิตจาง อาการป่วยของคนขาดธาตุเหล็ก



          นอกจากนี้อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลหิตจางได้คือการได้รับสารตะกั่วเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป เด็กในช่วงอายุระหว่าง 9 เดือน – 2 ปี จะเป็นช่วงเสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจางมากที่สุด เด็กที่อยู่ในช่วงวัยนี้ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ โดยเฉพาะเด็กที่เกิดก่อนกำหนดควรได้รับการตรวจเลือดเร็วกว่าช่วงอายุดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น