วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

บิม100 แนวทางดูแลสุขภาพโรคข้อเสื่อม โทร 088 826 4444







บิม100 แนวทางดูแลสุขภาพโรคข้อเสื่อม

สอบถามเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/33

โทร 088-826-4444 , 094-709-4444

        089-071-8889 , 094-435-0404

LINE ID : @Jumbolife






โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Ostoearthritis) เป็นโรคที่มีกระบวนการเกิดพยาธิสภาพของข้อโดยไม่มีอาการอักเสบเป็นลักษณะของการสึกหรอร่วมกับความพยายามของร่างกายที่จะซ่อมแซมความสึกหรอที่เกิดขึ้น แต่อัตราการซ่อมแซมไม่ทันต่ออัตราการสึกหรอ เป็นผลให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพของข้อเข่าทำให้ไม่สามารถทำงานได้ดีดัง เดิม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุซึ่งร่างกายมีความเสื่อมตามอายุขัยอยู่แล้ว การเสื่อมของข้อเข่ายิ่งมีผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุที่ เป็นโรคนี้









ข้อเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ข้อเข่าประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คือ กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ส่วนปลายบนที่แบนกว้าง ส่วนที่ 2 คือ กระดูกต้นขา (Femur) ส่วนปลายล่างที่เป็นส่วนต่อ และส่วนที่ 3 กระดูกสะบ้าที่รวมเป็นข้อเข่า ผิวสัมผัสบริเวณผิวหน้าของกระดูกต้นขาจะเป็นข้อสะบ้า (Patellofemeral) ช่วงระหว่างปลายกระดูกหน้าแข้ง และปลายกระดูกต้นขาจะมีกระดูกอ่อนหุ้ม เรียกว่า กระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage) มีลักษณะมันเรียบ ลื่น และสีขาวใส ทำหน้าที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว รับ และถ่ายทอดน้ำหนักจากปลายกระดูกข้อหนึ่งไปยังอีกกระดูกหนึ่ง



ข้อเข่าเป็นข้อที่อยู่ตรงกลางของขา ต้องรับน้ำหนักมาก มีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบบานพับ (Hinge joint) ร่วมกับการบิดหมุน (Rotation) ภายในข้อขณะที่มีการเหยียด (Extension) ของข้อเข่าจากการทำงานของกล้ามเนื้อควอทไดรเซ็บส์ (Quadriceps) และเนื่องจากการเคลื่อนไหวของข้อเข่าในลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เกิดการเสื่อม และอักเสบได้ง่าย








โรคข้อเข่าเสื่อม



ลักษณะการเกิดโรคของข้อเข่าเสื่อมจะเกิดบริเวณผิวกระดูกอ่อนของข้อเป็นหลัก ในระยะแรกมักเกิดบางส่วนของกระดูกอ่อน โดยเฉพาะจุดที่รับน้ำหนักมากที่สุด การเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนเกิดจากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป กระดูกอ่อนถูกกดหรือถูกใช้งานมากเกินไป ทำให้กระดูกอ่อนเปลี่ยนสภาพ กลายเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาลขุ่น ผิวไม่เรียบและนิ่ม กระดูกอ่อนอาจหลุดร่อนออกจนเห็นเนื้อกระดูกใต้กระดูกอ่อน นอกจากนี้ ถ้ามีเศษกระดูกอ่อนหลุดออกมาในสารน้ำหล่อข้อจะทำให้ผิวข้อ (Synovial membrane) เกิดการอักเสบขึ้นได้ และใต้บริเวณกระดูกอ่อนที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีการสร้างกระดูกใหม่เกิดขึ้น และมีเดือยกระดูก (Osteophyte) เกิดขึ้นที่ขอบของข้อ ซึ่งเกิดจากความพยายามของร่างกายในการซ่อมแซมเกิดถุงน้ำซึ่งเกิดจากน้ำหล่อ เลี้ยงข้อ (Synovial fluid) ที่จำนวนมากขึ้นจากการอักเสบที่เกิดขึ้นบนชั้นของกระดูกอ่อนใต้ผิวข้อ ต่อมาเมื่อกระดูกอ่อนเสื่อมมากขึ้นจะมีการทำลายไปถึงกระดูกแข็งที่อยู่ใต้ กระดูกอ่อน การอักเสบของผิวข้อ (Synovial membrane) ดังกล่าวจะเกิดในระยะที่โรคเป็นมากแล้วและมีการหดรั้ง (Contracture) เกิดขึ้นร่วมด้วยทำให้เกิดความพิการของข้อได้นอกจากนี้ยังเกิดการเปลี่ยน แปลงที่ส่วนอื่นของข้อได้อีก ไม่ว่าจะเป็นแคปซูลที่หุ้มข้อหนาขึ้นโดยเฉพาะในรายที่โรคดำเนินไปมาก กระดูกอ่อนผิวข้อหลุดร่อนหายไปหมด เหลือแต่กระดูกที่มีลักษณะเป็นมันเลี่ยน (Eburnation) เนื่องจากผิวกระดูกซึ่งไม่มีกระดูกอ่อนคลุมจะขัดสีกันในขณะเคลื่อนไหวข้อทำ ให้เกิดอาการเจ็บปวดของข้อเข่าขึ้น และถ้ายังคงไม่มีการชะลอความเสื่อมก็จะเกิดความพิการในที่สุด



ชนิดของข้อเข่าเสื่อม

1. โรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ (Primary knee osteoarthritis) ไม่มีความผิดปกติมาก่อน แต่สัมพันธ์กับปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ความอ้วนและการใช้งานของข้อเข่า



2. โรคข้อเข่าเสื่อมทุติยภูมิ (Secondary knee osteoarthritis) เกิดจากมีความผิดปกติของกระดูกและข้อแต่กำเนิด ได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวข้อ (Trauma) การอักเสบของโครงสร้างภายในข้อ ข้อไม่มีความมั่นคง


ข้อเข่าเสื่อมจะมีพยาธิสภาพเริ่มที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage) ซึ่งในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงจะมีโปรตีโอไกลแคน (Proteoglycan)จำนวนลดลง ทำให้กระดูกอ่อนมีการอ่อนตัว และสูญเสียความยืดหยุ่น ผิวข้อทนต่อแรงได้น้อยลงกระดูกอ่อนผิวข้อจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่น ผิวข้อไม่เรียบ เกิดการแตกเป็นร่อง หรือกระดูกอ่อนหลุดล่อนออก เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อสึกกร่อนไป จะทำให้ข้อเสียความมั่นคง และมีการกระตุ้นเซลล์ของกระดูกอ่อน (Chondrocyte) ที่อยู่รอบๆข้อ และกระดูกอ่อนจะงอกขึ้นมาตามขอบของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้ขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อ และเมื่อกระดูกอ่อนมีผิวข้อไม่เรียบ ความสามารถในการกระจายแรงของข้อตามปกติจึงเปลี่ยนไป ส่งผลให้มีอาการปวดขึ้น ส่วนอาการข้อฝืดเกิดจากเยื่อบุข้อหลั่งน้ำเลี้ยงข้อมากขึ้น ซึ่งน้ำเลี้ยงข้อมีไฮอะลูโรเนท (Hyalrulonate) มากผิดปกติทำให้เกิดความหนืดสูง ประกอบกับถุงหุ้มข้อหนาขึ้นและหดแคบ ผลที่ตามมาคือข้อฝืด และการเคลื่อนไหวได้ลดลง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น