วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

BIM100 แนวทางดูแลสุขภาพโรคข้อเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม โทร 088 826 4444







BIM100 แนวทางดูแลสุขภาพโรคข้อเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม 

สอบถามเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/33

โทร 088-826-4444 , 094-709-4444

        089-071-8889 , 094-435-0404

LINE ID : @Jumbolife



โรคข้อเข่าเสื่อม

        โรคข้อเข่าเสื่อม คือ โรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้งานมาก เมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึกจะมีการขัดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา







มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง

        1.  อายุ การเกิดข้อเข่าเสื่อมจะพบมากตามอายุที่เพิ่มขึ้น

        2.  เพศ พบในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย

        3.  พันธุกรรม อาจมีคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย

        4.  ภาวะอ้วน น้ำหนักตัวที่มากขึ้น ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับมากขึ้น

        5.  การได้รับบาดเจ็บ เช่น การมีเอ็นไขว้หรือหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด หรือมีกระดูกผิวข้อแตก



อาการและอาการแสดงเป็นอย่างไร

        1.  อาการปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานและลดลงหลังจากการพัก

        2.  ข้อยึดติด ถ้าเป็นมาก มุมของการเหยียดงอเข่าจะลดลง เคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันลำบาก

        3.  ข้อบวม อาจพบเป็นๆ หายๆ เกิดจากเยื่อบุข้อ มีการอักเสบหรือมีการสร้างน้ำไขข้อเพิ่มขึ้น

        4.  มีเสียงหรือมีความรู้สึกว่ากระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหวข้อ

        5.  ถ้าเป็นรุนแรง ข้อจะผิดรูป ขาโก่ง

        6.  ข้อหลวม รู้สึกไม่มั่นคงเวลายืนหรือเดิน เนื่องจากเอ็นรอบๆ ข้อหย่อน

        7.  กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อมีขนาดเล็กลงและไม่มีแรง













มีวิธีการรักษาอย่างไร และสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

        ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ โดยจุดมุ่งหมายในการรักษา คือ ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยให้หน้าที่การใช้งานของข้อกลับคืนสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด และป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปของข้อ วิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ความรุนแรงของโรค การใช้งานที่คาดหวังและความพร้อมของผู้ให้การรักษา

    การรักษามีแนวทางหลัก 2 วิธี ได้แก่ การรักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัด และการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด



การรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด

        1. การปรับเปลี่ยนการใช้งานในชีวิตประจำวัน ได้แก่

            -  การพักหรือใช้งานข้อให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน

            -  หลีกเลี่ยงการนั่งงอเข่า เช่น คุกเข่า พับเพียบ ยองๆ ขัดสมาธิ หรือนั่งเก้าอี้ต่ำ

            -  หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นควรเดินช้าๆ และขึ้นลงทีละขั้น

            -  หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งท่าเดียวนานๆ ควรเปลี่ยนท่าหรือขยับข้อเข่าอยู่เรื่อยๆ

            -  นั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือใช้เก้าอี้ที่มีรูตรงกลางวางไว้เหนือคอห่านแทนการนั่งยองๆ ควรทำราวจับบริเวณโถนั่งเพื่อใช้ช่วยพยุงตัวเวลาจะนั่งหรือยืน



        2.  ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง

        3.  การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน จะช่วยลดแรงที่เกิดกับข้อได้

        4.  ที่นอนควรมีความสูงระดับเข่า ไม่ควรนอนบนพื้น เพราะจะปวดมากเวลาจะนอนหรือลุกขึ้น

        5.  การประคบอุ่นบริเวณข้อเข่า ช่วยลดอาการปวดและกล้ามเนื้อเกร็งได้

        6.  การสวมสนับเข่า ในกรณีที่ข้อเข่าเสียความมั่นคง จะช่วยกระชับข้อและลดอาการปวด

        7.  การทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การฝึกความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อ การเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ และการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย

        8.  การใช้ยา ปัจจุบันมียาหลายกลุ่มที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อม ไก้แก่

            -  ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยากลุ่มแรกที่ใช้ในการควบคุมอาการ

            -  ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบของข้อ

            -  ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อ เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต จะช่วยชะลอโรค ซ่อมแซมผิวข้อ ลดการอักเสบและอาการปวด เป็นยาทางเลือกในข้อเสื่อมระยะเริ่มต้น

            -  ยาทาภายนอก ช่วยลดอาการโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงจากยารับประทาน

            -  การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ เป็นทางเลือกในการช่วยลดอาการปวดและช่วยให้การเคลื่อนไหวข้อดีขึ้น

            -  การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ เป็นทางเลือกในข้อเสื่อมรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น