วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สาเหตุโรคตาเสื่อม BIM100 เคล็ดลับดูแลสุขภาพ โทร 094 709 4444





สาเหตุโรคตาเสื่อม BIM100 เคล็ดลับดูแลสุขภาพ 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์ Operation BIM 

โทร 089-071-8889 ,094-435-0404

        094-709-4444,088-826-4444

https://www.bim100forlife.com/

line id : @jumbolife



จอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD) คือ ภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสาเหตุจากจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและประเภท



จอประสาทตาเสื่อม



โรคจอประสาทตาเสื่อมแบ่งออกเป็น  2 ประเภท



จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง (Dry AMD) มีจุดสีเหลืองบริเวณจอรับภาพตรงกลางของประสาทตาซึ่งเรียกว่า ดรูเซ่น (Drusen) สะสมอยู่ใต้จอประสาทตา จุดสีเหลืองนี้ทำลายเซลล์รับแสง ซึ่งนำไปสู่การมองเห็นที่บิดเบี้ยว โรคมักแสดงอาการอย่างช้า ๆ และในบางกรณีอาจกลายเป็นจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกได้



จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก (Wet AMD) พบเพียง 10 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด เกิดจากเส้นเลือดฝอยด้านหลังจอประสาทตาผิดปกติ ซึ่งมีของเหลวในหลอดเลือดรั่วไหลไปโดนจุดรับภาพ  ทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างมากทั้งแบบถาวรและเฉียบพลัน



อาการจอประสาทตาเสื่อม



อาการจอประสาทเสื่อมชนิดแห้ง อาการในช่วงแรก ผู้ป่วยอาจมองเห็นภาพเบลอและจุดดำหรือจุดบอดตรงกลางภาพ เมื่อเวลาผ่านไป จุดดำในภาพจะเริ่มขยายใหญ่ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้อ่านหนังสือลำบากหรือมองเห็นรายละเอียดไม่ชัด



อาการจอประสาทเสื่อมชนิดเปียก ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพบิดเบี้ยว พร่ามัว เห็นจุดดำขนาดใหญ่ในภาพซึ่งเป็นผลมาจากการที่เลือดไหลไปอยู่ในจุดรับภาพ



อาการโดยทั่วไปที่เหมือนกันของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้ง 2 ประเภท มีดังนี้



มองภาพบิดเบี้ยว

มองในที่สว่างไม่ชัด หรือแพ้แสง

ปรับสายตาจากการมองเห็นในที่มืดมาที่สว่างไม่ค่อยได้

สูญเสียความสามารถในการมองเห็น ตามัว มีจุดดำหรือเงาบังอยู่ตรงกลางภาพ

เห็นสีผิดเพี้ยน





สาเหตุของจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมนี้เป็นไปตามวัย สาเหตุเกิดจากจุดรับภาพซึ่งอยู่ตรงกลางจอประสาทตามีปัญหา โดยจุดรับภาพนี้เป็นจุดที่มีความไวต่อแสง ช่วยในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ให้เห็นได้ชัดเจนที่สุดของจอประสาทตา



จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง เกิดจากเซลล์รับแสงในจุดรับภาพเริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ ตามวัยที่เพิ่มขึ้น อาจมีของเสียสะสมอยู่ในจอประสาทตาซึ่งเรียกว่าดรูเซ่น และเซลล์รับแสงในจุดรับภาพมีจำนวนน้อยลง การมองเห็นบริเวณกลางภาพแย่ลง ทำให้ต้องใช้แสงสว่างมากกว่าปกติเมื่อต้องอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมระยะใกล้



จอประสาทเสื่อมชนิดเปียก เส้นเลือดฝอยเกิดใหม่ใต้จุดรับภาพขยายจำนวนมากขึ้น ถ้าเส้นเลือดฝอยก่อตัวผิดตำแหน่ง ทำให้ส่งผลเสียมากกว่าผลดีเพราะของเหลวในเส้นเลือดจะไหลซึมเข้าตา และทำให้ ประสิทธิภาพการทำงานของบริเวณจุดรับภาพลดลง



ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม



โอกาสเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่



-อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

-เผชิญแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลตเรื้อรัง

-น้ำหนักเกินมาตรฐาน

-สูบบุหรี่

-ดื่มสุรา

-มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม

-ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในหลอดเลือดสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น