วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

Bim100 โรคตาเสื่อม อาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก





Bim100 โรคตาเสื่อม อาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/473

โทร.  094-709-4444  ,  088-826-4444

ไลน์  :  @jumbolife หรือคลื๊ก https://line.me/R/ti/p/%40jumbolife



วุ้นตาเสื่อม รู้ตัวช้าเสี่ยงตาบอดอย่างถาวร

เคยสังเกตไหม ทำไมจึงมองเห็นเงาดำคล้ายหยากไย่หรือยุงบินไปมา แต่พอพยายามจ้องมองแล้วมันกลับลอยหายไปอย่างรวดเร็ว มักมองเห็นชัดเจนขึ้นเวลามองไปบนท้องฟ้าหรือพื้นผนังสีขาว หรือบางครั้งเห็นแสงไฟวาบขึ้นมาในตาทั้งๆที่อยู่ในที่มืด หลายคนคงเคยมีประสบการณ์นี้ และเกิดความวิตกกังวลว่ามันคืออะไร อันตรายไหม จะทำให้ตาบอดหรือไม่ อาการเหล่านี้เกิดจากภาวะที่เรียกว่า วุ้นตาเสื่อม (Vitreous degeneration)



วุ้นตาเสื่อมคืออะไร

โดยปกติ ลูกตาเราจะมีวุ้นตา (vitreous) อยู่ภายในช่องตาส่วนหลังเพื่อคงรูปร่างของลูกตา ตั้งแต่เกิดวุ้นตาจะมีลักษณะเป็นเจลหนืด ใส ยึดติดกับจอตาที่บุอยู่ภายในลูกตาโดยรอบ ซึ่ง 99% ของวุ้นตาเป็นน้ำ ส่วนที่เหลือประกอบด้วยโปรตีน เส้นใย เช่น คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และสารเกลือแร่ต่างๆ เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนหรืออาจจะเร็วขึ้นในบางภาวะ วุ้นตาจะเสื่อมตัวกลายสภาพเป็นน้ำ เส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็กในตาจะหดจับกันเป็นก้อนตะกอนขุ่น และวุ้นตาจะลอกออกจากผิวจอตา ทำให้เห็นเป็นเงาดำ อาจเป็นจุดเล็กๆ เส้นๆ หรืออาจเป็นวงๆลอยไปมาในตา เรียกภาวะนี้ว่า posterior vitreous detachment (PVD) ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของวุ้นตาที่เกาะอยู่เป็นวงรอบขั้วประสาทตา



ขณะที่วุ้นตาลอกตัวจากจอตา อาจมีการดึงรั้งของวุ้นตาที่จอตาบางบริเวณที่ยึดติดแน่น ทำให้เกิดการฉีกขาดที่จอตา พบได้ 10-20% ของผู้ป่วยที่มีวุ้นตาเสื่อม ซึ่งมักทำให้มีอาการเห็นแสงไฟวาบขึ้นในตา โดยจะเห็นชัดเจนในที่มืด หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่ภาวะจอตาหลุดลอก (retinal detachment) และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้



วุ้นในลูกตาเสื่อม” เกิดได้ง่ายและอันตรายต่อการมองเห็น

โดยปกติแล้วภาวะวุ้นในลูกตาเสื่อมมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบว่าภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นกับหนุ่มสาวคนทำงานออฟฟิศมากขึ้น จากพฤติกรรมการใช้หน้าจอมากเกินไป ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรทำความเข้าใจ เพื่อปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม



น้ำวุ้นตาเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างของลูกตา โดยจะอยู่ทางด้านหลังเนื้อเยื่อเลนส์ เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นลูกตาจะเกิดการเสื่อมและกลายเป็นน้ำบางส่วน มักเกิดกับผู้ที่มีอายุมาก 40 ปีหรือ 50 ปีขึ้นไป เว้นแต่ในบางบุคคลที่อาจเกิดภาวะเสื่อมก่อนอายุดังกล่าว ด้วยปัจจัยบางอย่าง เช่น การได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา การผ่าตัดที่กระทำภายในลูกตา หรือในคนที่สายตาสั้นซึ่งจะเกิดการเสื่อมของวุ้นลูกตาได้เร็วกว่าคนทั่วไป อาจเกิดตั้งแต่อายุ 10 กว่าปีหรือ 20 กว่าปี ยิ่งสั้นมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น



ปกติแล้วไม่ทราบแน่ชัดว่าวุ้นลูกตามีหน้าที่อะไร เมื่อเกิดการเสื่อมจึงไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากนัก แต่ถ้าหากเสื่อมมากวุ้นตาจะจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ส่วนที่ใสๆ เกิดเป็นฝ้า เมื่อมีแสงเข้ามาเยอะๆ จะเกิดเป็นเงาตกไปที่จอประสาทตา และเกิดเป็นจุดดำข้างใน หากวุ้นตากลายเป็นน้ำจุดดำจะลอยไปลอยมา และมักเห็นในที่ที่สว่างมากๆ หรือเมื่อมีแสงเข้ามาเยอะๆ จนทำให้เกิดเงาขึ้น แต่ในที่มืดจะมองไม่เห็นจุดดำที่ว่าเพราะไม่เกิดเงาที่จอประสาทตา บางครั้งอาจเกิดการดึงจอประสาทตา ทำให้เหมือนมีแสงแวบขึ้นมาคล้ายแฟลช และมักเห็นในที่มืด ปัญหาคืออาจทำให้เกิดการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ ทำให้น้ำที่เกิดจากการเสื่อมของวุ้นไหลผ่านเข้าไปทางรอยฉีกขาด ทำให้จอประสาทตาลอก และส่วนที่ลอกจะเกิดการมองไม่เห็น คนไข้จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมาบังตาไว้ และส่วนที่มองไม่เห็นนั้นจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆBim100 โรคตาเสื่อม อาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น