วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ปัญหาน้ำวุ้นตาเสื่อม BIM100 ดูแลสุขภาพตาอักเสบ





ปัญหาน้ำวุ้นตาเสื่อม BIM100 ดูแลสุขภาพตาอักเสบ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/473

โทร.  094-709-4444  ,  088-826-4444

ไลน์  :  @jumbolife หรือคลื๊ก https://line.me/R/ti/p/%40jumbolife


วุ้นตาเสื่อม

น้ำวุ้นลูกตาเสื่อม หรือ น้ำวุ้นลูกตาตกตะกอน (ภาษาอังกฤษ : Vitreous floaters, Eye floaters หรือ Floaters) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออย่างเข้าสู่วัยกลางคน ซึ่งจะทำให้มองเห็นเงาดำคล้ายหยากไย่ ยุง ลูกน้ำ หรือแมลง หรือเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ เส้น ๆ วง ๆ ลอยไปลอยมาในลูกตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง และเห็นได้ชัดในที่สว่าง โดยเฉพาะเวลาแหงนมองท้องที่สว่างใส มองไปที่ผนังสีขาว เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยนึกว่ามีหยากไย่อยู่ข้างนอกลูกตา เมื่อพยายามขยี้ตาแต่เงาดำก็ไม่หายไป สร้างความรำคาญ แต่พอนาน ๆ เข้าก็รู้สึกชินไปเอง



หมายเหตุ : วุ้นตา หรือ น้ำวุ้นตา (Vitreous body หรือ Vitreous humor) เป็นส่วนประกอบของลูกตาที่อยู่ภายในช่องตาส่วนหลัง (อยู่ที่หน้าต่อจอประสาทตาและแนบติดกับผิวของจอประสาทตา) มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีตะกอน หนืด ๆ คล้ายเจลหรือไข่ขาว โดยมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักถึง 98-99% (ที่เหลือเป็นโปรตีน คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก ตลอดจนสารเกลือแร่ต่าง ๆ จึงทำวุ้นตามีลักษณะเป็นเจลใสหนืด ๆ)



ทั้งนี้วุ้นตาจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้แสงผ่าน ช่วยพยุงลูกตาให้คงรูปเป็นทรงกลม และเป็นแหล่งอาหารแก่แก้วตา จอประสาทตา และเนื้อเยื่อซีเลียรีบอดี้ (Ciliary body) เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นตาจะค่อย ๆ คลายความหนืดลง เมื่ออายุ 80 ปี มากกว่าครึ่งหนึ่งของวุ้นตาจะกลายเป็นน้ำใส ในผู้ป่วยสายตาสั้นวุ้นตาจะเริ่มเสื่อมเร็วกว่าคนทั่วไป การเสื่อมของวุ้นตาจะทำให้บริเวณที่เคยยึดติดกับจอประสาทตาที่ค่อนข้างแน่นหลุดออกจนอาจนำไปสู่ภาวะจอประสาทตาหลุดลอกได้



วุ้นในลูกตาเสื่อม” เกิดได้ง่ายและอันตรายต่อการมองเห็น

โดยปกติแล้วภาวะวุ้นในลูกตาเสื่อมมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบว่าภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นกับหนุ่มสาวคนทำงานออฟฟิศมากขึ้น จากพฤติกรรมการใช้หน้าจอมากเกินไป ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรทำความเข้าใจ เพื่อปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม



น้ำวุ้นตาเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างของลูกตา โดยจะอยู่ทางด้านหลังเนื้อเยื่อเลนส์ เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นลูกตาจะเกิดการเสื่อมและกลายเป็นน้ำบางส่วน มักเกิดกับผู้ที่มีอายุมาก 40 ปีหรือ 50 ปีขึ้นไป เว้นแต่ในบางบุคคลที่อาจเกิดภาวะเสื่อมก่อนอายุดังกล่าว ด้วยปัจจัยบางอย่าง เช่น การได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา การผ่าตัดที่กระทำภายในลูกตา หรือในคนที่สายตาสั้นซึ่งจะเกิดการเสื่อมของวุ้นลูกตาได้เร็วกว่าคนทั่วไป อาจเกิดตั้งแต่อายุ 10 กว่าปีหรือ 20 กว่าปี ยิ่งสั้นมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น



ปกติแล้วไม่ทราบแน่ชัดว่าวุ้นลูกตามีหน้าที่อะไร เมื่อเกิดการเสื่อมจึงไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากนัก แต่ถ้าหากเสื่อมมากวุ้นตาจะจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ส่วนที่ใสๆ เกิดเป็นฝ้า เมื่อมีแสงเข้ามาเยอะๆ จะเกิดเป็นเงาตกไปที่จอประสาทตา และเกิดเป็นจุดดำข้างใน หากวุ้นตากลายเป็นน้ำจุดดำจะลอยไปลอยมา และมักเห็นในที่ที่สว่างมากๆ หรือเมื่อมีแสงเข้ามาเยอะๆ จนทำให้เกิดเงาขึ้น แต่ในที่มืดจะมองไม่เห็นจุดดำที่ว่าเพราะไม่เกิดเงาที่จอประสาทตา บางครั้งอาจเกิดการดึงจอประสาทตา ทำให้เหมือนมีแสงแวบขึ้นมาคล้ายแฟลช และมักเห็นในที่มืด ปัญหาคืออาจทำให้เกิดการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ ทำให้น้ำที่เกิดจากการเสื่อมของวุ้นไหลผ่านเข้าไปทางรอยฉีกขาด ทำให้จอประสาทตาลอก และส่วนที่ลอกจะเกิดการมองไม่เห็น คนไข้จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมาบังตาไว้ และส่วนที่มองไม่เห็นนั้นจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น