วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ดูแลสุขภาพง่ายๆ กับ หลินจือพลัสชิตาเกะ แก้ปัญหาโรคไทรอยด์ เบาหวาน ความดั...





ดูแลสุขภาพง่ายๆ กับ หลินจือพลัสชิตาเกะ แก้ปัญหาโรคไทรอยด์ เบาหวาน ความดันโลหิต

เห็ดหลินจือแดง หลินจือพลัสชิตาเกะ LINGZHI PLUS SHIITAKE 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.jumbolifeshop.com/p/757

โทร. 094 709 4444, 094 435 0404, 088 826 4444

Line : @jumbolife


ไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อตั้งอยู่ด้านหน้าของลำคอใน ส่วนหน้าต่อลูกกระเดือกหรือกระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid cartilage) มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประ กอบด้วย 2 กลีบใหญ่คือ กลีบด้านซ้ายและกลีบด้านขวา ซึ่งทั้งสองกลีบเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus) ต่อมไทรอยด์ปกติของผู้ใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 18 -30 กรัม แต่ละกลีบของต่อมไทรอยด์ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร (ซม.) ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 2 - 3 ซม. และส่วนที่หนาสุดประมาณ 0.8 - 1.6 ซม. ซึ่งต่อมไทรอยด์ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและไม่สามารถคลำพบได้

ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิดคือ ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyroxine, T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) และแคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นฮอร์ โมนที่มีความสำคัญน้อยกว่า ฮอร์โมน ที4 และ ที3 เป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึง ไทรอยด์ฮอร์โมนจึงมักหมายความถึงเฉพาะฮอร์โมน ที4 และ ที3 เท่านั้น

ฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 มีหน้าที่สำคัญมากคือ ควบคุมดูแลการใช้พลังงานทั้งจากอาหารและจากออกซิเจนหรือที่เรียกว่า เมตาโบลิซึม (Metabolism หรือกระบวนการแปรรูปอณู) ของเซลล์ต่างๆเพื่อการเจริญเติบโต การทำงาน และการซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บสึกหรอ และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วย ส่วนฮอร์โมนแคลซิโทนินมีหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกายให้อยู่ในสมดุล

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่ทำงานโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) และของสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus เป็นสมองส่วนหนึ่งของสมองใหญ่/Cerebrum โดยอยู่ในส่วนลึกกลางสมองใหญ่) ซึ่งทั้งต่อมใต้สมองและสมองไฮโป ธาลามัสยังควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆด้วยเช่น ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ และยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ ดังนั้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรคหรือภาวะผิด ปกติต่างๆของต่อมไทรอยด์จึงสัมพันธ์กับการทำงานและโรคต่างๆของอวัยวะเหล่านั้น รวมทั้งความสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ

เนื่องจากฮอร์โมนแคลซิโทนินมีบทบาทน้อยมากในการดำรงชีวิตและในโรคของต่อมไทรอยด์ ดังนั้นในบทนี้เมื่อกล่าวถึงเรื่องของต่อมไทรอยด์จึงกล่าวถึงเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 เท่านั้น และจะรวมเรียกฮอร์โมน ที4 และ ที3 ว่าไทรอยด์ฮอร์ โมน



โรคต่อมไทรอยด์มีอะไรบ้าง? มีอาการอย่างไร?

ไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบได้บ่อยคือ ภาวะหรือโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะหรือโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน โรคคอพอก โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ และโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานสูง ขึ้นผิดปกติจึงส่งผลให้มีฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 ในร่างกาย/ในเลือดสูงกว่าปกติ จึงก่อ ให้เกิดอาการต่างๆขึ้น ซึ่งเมื่อมีไทรอยด์ฮอร์โมนสูงขึ้นกว่าปกติจากสาเหตุใดๆก็ตามเช่น จากต่อมไทรอยด์อักเสบ จากกินยาไทรอยด์ฮอร์โมนเรียกภาวะนั้นว่า โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) เมื่อไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์เรียกโรคนั้นว่า โรคคอพอกเป็นพิษ (Toxic nodular goiter) และเมื่อเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันต้านทานของร่าง กาย/แอนติบอดี/สารภูมิต้านทาน (Antibody) ต่อต่อมไทรอยด์จะส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทั้งต่อมโตขึ้น และเซลล์ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนสูงขึ้นเรียกว่า โรคเกรวฟส์ (Graves’ disease) ซึ่งเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุดของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินคือประมาณ 70% ของภาวะนี้

อาการจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่พบบ่อยได้แก่ ผอมลงทั้งๆที่กินจุ หัวใจเต้นเร็วและแรง ทนอากาศร้อนไม่ได้ เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อแขนและขาลีบ อุจจาระบ่อยขึ้น/ท้อง เสีย ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ผมเปราะแห้ง ผมร่วง มือสั่น หงุดหงิดง่าย กังวลเกินเหตุ อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ อาจมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อมและอาจร่วมกับมีตาโปนทั้ง 2 ข้างเมื่อเกิดจากโรคเกรวฟส์ อาจมีปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์เมื่อเกิดจากคอพอกเป็นพิษ หรืออาจมีต่อมไทรอยด์โตเจ็บ อาจร่วมกับมีไข้เมื่อเกิดจากต่อมไทรอยด์อักเสบ

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนหรือโรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)

ได้ แก่ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติหรือเสียหายจากสาเหตุต่างๆเช่น จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จึงส่งผลให้มีไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกาย/ในเลือดต่ำกว่าปกติ จึงก่ออาการต่างๆขึ้น ซึ่งที่พบบ่อยได้แก่ ทนหนาวไม่ได้ หนาวเกินเหตุ ท้องผูก ประจำเดือนแต่ละครั้งมามากผิดปกติ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อ้วนฉุ เฉื่อย ช้า เสียงแหบ พูดได้ช้าลง ผิวหนังดูหนากว่าปกติ ผิวแห้ง เล็บแตกง่าย ใบหน้า รอบดวงตา มือ เท้าบวมโดยเฉพาะเมื่อตื่นนอน ซึมเศร้า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น