วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

รักใครให้ หลินจือมิน สมุนไพรช่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โทร 09...





รักใครให้ หลินจือมิน สมุนไพรช่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง

รายละเอียดเพิ่มเติม   http://www.Linhzhiminkorea.com

โทร 089-071-8889 , 094-709-4444 , 094-435-0404

Line ID : @jumbolife


โรคไขมันในเลือดสูงมีอาการอย่างไร?

อาการจากโรคไขมันในเลือดสูงได้แก่

ผู้ป่วยภาวะ Familial cholesterolemia (FM) ที่มีความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกิดบนโคร โมโซมทั้ง 2 แท่ง (Homozygous FM) จะมีระดับคอเลสเทอรอลสูงมากกว่า 500 mg/dl ขึ้นไปตั้งแต่แรกเกิด และตรวจพบก้อนไขมันที่เกิดจากคอเลสเตอรอลสะสมขนาดเล็กๆสีเหลืองอยู่ตามผิวหนังและเส้นเอ็น (เรียกว่า Xanthoma) โดยมักพบที่เส้นเอ็นที่ข้อเท้า เส้นเอ็นข้อนิ้วมือ ตามข้อศอก ข้อเข่า และบริเวณก้น บริเวณเปลือกตาก็อาจมีไขมันไปสะสมเช่นกัน ซึ่งจะเห็นเป็นแผ่นสีเหลืองๆเรียกว่า Xanthelasma และเกิดหลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว (Atherosclero sis) ตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและเกิดอาการของหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่ไม่ได้กินยารักษาส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนอายุ 20 ปี

ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกิดบนโครโมโซมเพียงแท่งเดียว (Heterozy gous FM) จะมีระดับคอเลสเทอรอลประมาณ 200 - 400 mg/dl ตั้งแต่แรกเกิด แต่จะตรวจพบก้อนไขมันและมีอาการของหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ไปแล้ว โดยประมาณ 50% ของผู้ป่วย Heterozygous FM จะมีโรคหัวใจขาดเลือดก่อนอายุ 60 ปี พ่อหรือแม่ของผู้ป่วยและประมาณครึ่งหนึ่งของพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็น Heterozygous FM จะเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน

ผู้ป่วยที่เป็น Familial defective apoB-100 (FDB) จะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วย Heterozy gous FM

ผู้ป่วยที่มีภาะ Autosomal recessive hypercholesterolemia (ARH) จะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วย Homozygous FM หรือ Heterozygous FM

ผู้ป่วยที่เป็น Sitosterolemia จะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วย FM ร่วมกับมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเป็นครั้งคราว (มีภาวะซีดและม้ามโตร่วมด้วย)



ผู้ป่วยที่เป็น Polygenic hypercholesterolemia จะมีระดับคอเลสเตอรอลสูงเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ไม่สูงเท่าผู้ป่วยกลุ่มข้างต้น และจะไม่พบก้อนไขมันขนาดเล็กๆ การซักประวัติคนในครอบครัวจะช่วยแยกโรคจากผู้ป่วยที่เป็น FM และ FDB ได้ ดังที่กล่าวตามข้างต้น ประมาณครึ่ง หนึ่งของคนในครอบครัวของผู้ป่วย FM และ FDB จะเป็นโรคนี้ด้วย แต่สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีจำนวนคนในครอบครัวที่มีระดับไขมันสูงด้วยน้อยกว่า 10%

ผู้ป่วยที่เป็น Familial chylomicronemia syndrome จะวัดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้มากกว่า 1,000 mg/dl ตั้งแต่วัยเด็ก ระดับคอเลสเทอรอลสูงปานกลาง น้ำเลือด (Serum) ของผู้ป่วยเหล่านี้จะมีสีออกขาวขุ่น และถ้าตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสประมาณ 2 - 3 ชั่วโมงจะเห็นชั้นที่แยกตัวเป็นครีมไขมันสีขาวชัดเจน การที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากเช่นนี้จะทำให้มีตับอักเสบเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องเป็นๆหายๆจากตับอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก ไม่พบก้อนไขมันชนิดที่เรียกว่า Xanthoma แต่จะพบตุ่มนูนเล็กๆของไขมัน สีขาวๆเหลืองๆ ซึ่งเรียกว่า Eruptive xanthoma แทน ซึ่งจะพบบริเวณแผ่นหลัง บริเวณก้น แขน และขา ตุ่มนูนชนิดนี้อาจมีอาการคันได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีตับ ม้าม โต ซึ่งเกิดจากการที่กลุ่มไขมันชนิด Chylomicron เข้าไปสะสมอยู่ที่ตับและม้าม ผู้ป่วยโรคนี้ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่อายุยังน้อย

ผู้ป่วยที่เป็น Familial dysbetalipoproteinemia (FDBL) จะปรากฏก้อนไขมัน Xanthoma เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เส้นลายมือจะมีสีออกเหลืองส้มเนื่องจากมีไขมันไปสะสม ผู้ป่วยจะมีระดับคอเลสเทอรอลสูง แต่ถ้าวัดระดับของกลุ่มไขมัน LDL จะต่ำกว่าปกติ ระดับกลุ่มไขมัน HDL จะปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่อายุยังน้อย

ผู้ป่วยที่เป็น Familial hypertriglyceridemia (FHTL) ผู้ป่วยจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่ใน ช่วง 250 - 1,000 mg/dl ระดับคอเลสเทอรอลขึ้นสูงไม่เกิน 250 mg/dl ระดับกลุ่มไขมัน HDL ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย และระดับกลุ่มไขมัน LDL ที่ค่อนข้างปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีก้อนไขมัน Eruptive xanthoma และ Xanthoma ปรากฏให้เห็น ผู้ป่วยโรคนี้ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

ผู้ป่วยที่เป็น Familial combined hyperlidemia (FCHL) จะมีระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่ในช่วง 200 - 800 mg/dl ระดับคอเลสเทอรอลอยู่ในช่วง 200 - 400 mg/dl ระดับกลุ่มไขมัน HDL ต่ำกว่าปกติ และระดับกลุ่มไขมัน LDL หรือ VLDL สูงกว่าปกติ ผู้ป่วยจะไม่มีก้อนไขมัน Eruptive xanthoma และ xanthoma ปรากฏให้เห็น ประมาณ 20% ของผู้ป่วยโรคนี้จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดที่อายุน้อยกว่า 60 ปี

แพทย์วินิจฉัยโรคไขมันในเลือดสูงได้อย่างไร?

ตามแนวทางของผู้เชี่ยวชาญของกลุ่ม Adult Treatment Panel (ATP) และ National Cholesterol Education Program (NCEP) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปควรเจาะเลือดตรวจหาระดับไขมันในเลือดคือ คอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมัน LDL และไขมัน HDL โดยเจาะเมื่องดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง

หลังจากได้ค่าไขมันชนิดต่างๆแล้วพบว่ามีความผิดปกติ อันดับแรกจะต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากมีโรคอื่นๆที่ทำให้ระดับไขมันผิดปกติอยู่หรือไม่เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไทรอยด์ฮอร์ โมนต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น