วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

หลินจือมิน กับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในหลอดเลือด โทร 094 709...





หลินจือมิน กับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในหลอดเลือด

รายละเอียดเพิ่มเติม  http://www.Linhzhimin2U.com

โทร 089-071-8889 , 094-709-4444 , 094-435-0404

Line ID : @jumbolife



นิยามของโรคความดันเลือดสูง

คือวัดความดันเลือด  แล้วพบว่าผิดปกติ  อย่างน้อย  2  ครั้งขึ้นไป ที่ว่าผิดปกติ  คือ  มีค่า SP >= 140 มม.ปรอท และ/หรือ  DP >= 90 มม.ปรอท หรือผู้ป่วยที่กำลังได้รับยาลดความดันอยู่แล้ว วัดได้ความดันเลือดเป็นปกติ โดยบางคนจะสูงเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งก็ได้ ในทางแพทย์จะถือเอาตัวเลขตั้งแต่ 160/95 มม.ปรอท ขึ้นไป  กล่าวคือมีความดันตัวบนสูงกว่า 160 หรือมีความดันตัวล่างมากเกิน 95



        ฟังดูอาจสับสน บางคนจึงใช้หลักว่า หากตรวจพบความดันเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม.ปรอท  ถือ เป็นนัยสำคัญ ที่ต้องหาหนทางลดความดันด้วยวิถีธรรมชาติในเรื่องเกี่ยวกับอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด  ดำเนินชีวิตลดเลี่ยงปัจจัยที่เป็นพิษต่างๆ ไปพลางก่อน หากพบว่าความดันขึ้นไปถึง  160/95  แปลว่าจำเป็นต้องใช้ยาลดความดันอย่างเลี่ยงมิได้  เพื่อผ่อนคลายโรคแทรกซ้อนต่างๆ  เช่น อัมพาต  อัมพฤกษ์  ไตวาย  ตลอดจนอันตรายถึงชีวิต



อันตราย

        ความดันทุกมม.ปรอทที่เพิ่มขึ้น หมายความว่า แม่ปั๊ม คือ หัวใจ  ต้องทำงานหนักขึ้น โอกาสอ่อนล้าเสื่อมสภาพย่อมตามมา หรืออีกนัยหนึ่ง  ผู้ที่มีความดันเลือดสูงขึ้น  น่าจะมีอายุสั้นลง  เพราะหัวใจอ่อนล้าจากงานหนักกว่าปกตินั่นเอง ผู้ป่วยความดันเลือดสูงที่มิได้รับการรักษา จะมีอายุสั้นลงกว่าบุคคลปกติ  10 – 20  ปี  เนื่องจากเกิดการแข็งตีบตันของหลอดเลือดเร็วขึ้น  ยิ่งความดันสูงมากเท่าไร  สิ่งนี้ก็ยิ่งเกิดรุนแรงและเร็วมากขึ้น



        ความดันเลือดสูงมีความสัมพันธ์อย่างมากกับโรคไตชนิดต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นโรคไตอักเสบ  ไตวายเฉียบพลัน  ไตวายเรื้อรัง  หรือโรคไตจากเบาหวาน  ความดันเลือดสูงอาจเกิดขึ้นก่อน แล้วส่งผลให้เป็นโรคไตตามมาภายหลัง  หากมิได้รักษาโรคความดัน… หรือผู้ที่เป็นโรคไตอยู่แล้วหากมิได้รับการรักษา  โรคที่จะตามมาแน่ๆ ก็คือ ความดันเลือดสูง



        การสำรวจในประเทศญี่ปุ่น  พบว่า  ผู้ป่วยที่มีค่า Systolic BP > 140 มม.ปรอท และ Diastolic BP > 90  มม.ปรอท  มีโอกาสพบโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นแปรผันตามค่าความดันเลือดที่สูงขึ้น ส่วนผู้ป่วยความดันสูงที่มีโรคไตอยู่ก่อน หากมีความดันเลือดสูงมาก จะทำให้มีอัตราการเสื่อมของไตเร็วกว่าผู้ป่วยโรคไตที่มีความดันโลหิตสูงที่น้อยกว่า กรณีที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อย โดยยังมิได้มีการเสื่อมเสียของอวัยวะปลายทาง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในระยะ  7 – 10  ปี  โดยที่เกือบ  30%  จะเกิดหลอดเลือดแข็งตีบตัน  มากกว่า 50% จะเกิดผลเสียต่ออวัยวะปลายทาง เช่น หัวใจโต หัวใจล้มเหลว โรคของประสาทตา เป็นต้น ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นโรคความดันเลือดสูงเพียงเล็กน้อย ก็จะก่อให้เกิดอันตรายได้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข



 โคคิวเทน  ช่วยลดความดันได้อย่างไร?

        จากระบบหัวใจหลอดเลือด เปรียบเสมือนปั๊มน้ำวงจรปิด คือ เลือดแดงถูกปั๊มออกจากหัวใจห้องล่างซ้าย ไปสู่อวัยวะ แล้วซึมผ่านเนื้อเยื่อด้วยระบบหลอดเลือดฝอย เข้าหลอดเลือดดำ เข้าสู่ห้องบนขวาของหัวใจ ห้องบนขวาจะบีบตัวส่งเลือดเข้าสู่ห้องล่างขวา เพื่อให้ห้องล่างขวาส่งเลือดดำไปฟอกที่ปอดฟอกได้เลือดดีแล้วจึงไหลจากปอดสู่ห้องบนซ้าย เพื่อบีบตัวเข้าห้องล่างซ้าย  เป็นครบวงจร



       ช่วงเวลาที่ห้องล่างของหัวใจบีบตัว เราเรียก  Systole ความดันเลือดที่วัดได้ในจังหวะนี้คือ  Systolic pressure หรือ  ความดันตัวบน ห้วงที่ห้องล่างคลายตัวก็เป็นจังหวะที่ห้องบนบีบตัวส่งเลือดผ่านลิ้นหัวใจ  เข้าสู่ห้องล่าง ช่วงจังหวะนี้เรียก Diastole ความดันในช่วงนี้เรียก  Diastolic pressure หรือ  ความดันตัวล่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น